ความเครียดและการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ (STRAIN AND ADAPTATION OF BACHELOR DEGREE STUDENTS FROM FACULTY OF ENGINEERING, RAJMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY LANNA CHIANGMAI CAMPUS)

parichat buacharoen, Noparat Techapunratanakul, Grailard Dornchai, Pawanrat Buochareon

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียดและการปรับตัวของนักศึกษา เปรียบเทียบความเครียดและการปรับตัวตามตัวแปร เพศ รายได้ กลุ่มสาขา ลักษณะการอยู่อาศัย สถานภาพสมรสของบิดามารดา บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน และหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและการปรับตัวของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ จำนวน ๔,๗๙๐ คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๘๐ คน แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็น แบบสอบถามบุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนกับนักศึกษา ความเครียดและการปรับตัว การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T - test) การทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way analysis of variance) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน  ผลการวิจัย พบว่า

 

          ๑. นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีระดับความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย และมีการปรับตัวในระดับปานกลาง

         ๒. เมื่อเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษา ตามตัวแปรต่างๆ ดังนี้ นักศึกษาที่มีเพศ บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนต่างกัน แหล่งเงินทุนมาจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง กองทุนกู้ยืม (กยศ.) การทำงานหารายได้ ลักษณะการอยู่อาศัย และสถานภาพครอบครัว ต่างกัน พบว่ามีความเครียดไม่แตกต่างกัน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาต่างกัน มีความเครียดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ พบว่านักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกลมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดแตกต่างกับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมอุตสาหการ

          ๓. เมื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของนักศึกษา ตามตัวแปรต่างๆ ดังนี้ นักศึกษา ที่มีเพศ บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนต่างกัน แหล่งเงินทุนมาจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง กองทุนกู้ยืม (กยศ.) การทำงานหารายได้ ลักษณะการอยู่อาศัย และสถานภาพครอบครัว ต่างกัน พบว่ามีการปรับตัวไม่แตกต่างกัน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาต่างกัน มีการปรับตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕  พบว่านักศึกษาสาขาวิศวกรรมอุตสาหการมีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวแตกต่างกับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ส่วนนักศึกษาสาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมมีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวไม่แตกต่างกัน

          ๔. นักศึกษามีคะแนนความเครียดและคะแนนการปรับตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน

Abstract

          The research aims to study the strain and adaption of students by comparing according to gender, income, major, accommodation, marital status of parent, personality, child rearing practice, the relationship among students and friends, and find the relationship between strain and adaptation of students. The populations are 380 bachelor degree students from faculty of Engineering by using Stratified Random Sampling. 

          The instruments used in this research were questionnaires which are concerning personality, child rearing practice, the relationship among students and friends, and strain and adaptation. Data analysis were used; frequency distribution, percentage, mean score, standard deviation, T-test, One-way analysis of variance, and Pearson correlation. The results found that;

          1) Students have strains at a little higher than normal range and the adaptations are at moderate level.

          2) When comparing these factors, the results showed that the strains are not different. However, students in the different majors have strains significantly difference at 0.05. The results showed that Mechanical Engineering students have the average level of strains different from Electrical Engineering students, Civil and Environmental Engineering students, and Industrial Engineering.

          3) Comparing the students’ adaptation according to the mentioned factors, the results showed that there are no differences. However, students in the different majors have the adaptation significantly difference at 0.05. The results showed that Industrial Engineering students have the average level of adaption difference from Mechanical Engineering students and Electrical Engineering students. On the other hand, the average level of adaptation from the Civil and Environmental Engineering students are not different.

          4) Students’ strains and adaptation are not correlated.


Keywords


ความเครียด;การปรับตัว

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.