การส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพของครอบครัว ในการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ (PROMOTION AND DEVELOPMENT OF FAMILIES’ABILITY TO AGING CARE IN PHRAE PROVINCE)

Aphicha Sukjeen, Onanong Woowong, Phra Anusorn Kittiwanno, Phramaha Sittichai Jayasiddhi

Abstract


บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาศักยภาพของครอบครัวในการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ และ ๓) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix methods research) โดยมีการแจกแบบสอบถามแบบ Checklist สัมภาษณ์เชิงลึก ครอบครัวจำนวน ๒๐ ครอบครัว และสนทนากลุ่มย่อยระหว่างคณะผู้วิจัยและประธานมูลนิธิผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ ประธานชมรมผู้สูงอายุอำเภอเมืองแพร่และอำเภอหนองม่วงไข่ ตัวแทนผู้สูงอายุ ตัวแทนครอบครัว ประธานกำนันผู้ใหญ่บ้าน และพระสงฆ์ รวมทั้งหมด ๑๕ รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

          ๑. ศักยภาพของครอบครัวในการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุทั้ง ๗ ด้าน พบว่า ๑) ด้านห้องนอน มีการจัดสภาพแวดล้อมภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๗๓.๕๗ ๒) ด้านห้องน้ำ โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ ๓) ด้านบันไดโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๖๕.๕๕ ๔) ด้านราวจับ โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๙๕.๐๐ ๕) ด้านประตูโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๖๒.๐๐ ๖) ด้านพื้นห้องน้ำและฝาผนัง โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐ และ ๗) ด้านสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๖๕.๐๐ การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านทั้ง ๗ ด้าน ปัจจัยทางด้านงบประมาณและความมั่นคงทางฐานะถือเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการจัดสภาพแวดล้อม

          ๒. ศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุในภาพรวมพบว่า ระดับการปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๖๗ คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๐๐ ถ้าพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ สมาชิกในครอบครัวให้เกียรติและยกย่องผู้สูงอายุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์การดำเนินชีวิต,ให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดีเมื่อผู้สูงอายุเกิดอาการเจ็บป่วย, มีการพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพประจำปี,ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๕.๐๐ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐  ส่วนข้อที่มีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๗๐ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ ๔๐.๐๐ กิจกรรมที่ทางครอบครัวจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุประกอบไปด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการดูแลด้านร่างกาย จิตใจสังคม และด้านเศรษฐกิจ

          ๓. บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ พบว่า พระสงฆ์มีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ ๖ ด้าน คือ ๑) บทบาทพระสงฆ์ด้านให้การอบรมครอบครัว คือ ให้การอบรมครอบครัวให้เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี ๒) บทบาทในการสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๓) บทบาทในการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔) บทบาทในการจัดกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ๕) บทบาทในการสนับสนุนโรงเรียนผู้สูงอายุ และ ๖) บทบาทในการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม


Abstract

 

          This study aimed to 1. to study the family efficiency in household environment management in order to take care of elderlies in Phrae province 2. To study the family efficiency in Phrae elderly mental care and 3. To study the monk roles in developing elderlies’ family efficiency in Phrae province. The mix method research was used in this study by using checklist questionnaire and in-depth interview with 20 families. The focus group discussion was used between the researchers and 15 subjects consisted of the president of Phrae Elderly Association, president of Phrae Elderly Club in Muang Phrae and Nong Muang Khai district, elderly representatives, subdistrict and village headmen, and monks.

          The results were found as follows.

          1. The 7 aspects of family efficiency in household environmental management in order to take care of elderlies were found as follows. 1. 73.57 % of elderly bedroom was managed appropriately. 2. 50% of elderly bath room was managed appropriately. 3.65.55% of staircase was fixed appropriately.
4. 95.5 % of handrail was fixed appropriately. 5. 62% of door was fixed appropriately. 6. 50% of bath room floor was cleaned appropriately and 7. 64% of household environment was managed appropriately. In order to manage household environment, budget and the status stability were considered to be the main and important factors.

          2. All perspective of family efficiency in elderly  mental care was found that the operation aspect was the highest level(x̄ =4.67, 53%). When considered in items, the item that had the highest level was ‘Family members respect
and consider elderlies to have living experiences’, ‘Elderlies are taken care when they are sick.’, ‘The majority of elderlies have medical examination.’,
and ‘There is the elderly life value enhancement.’ (x̄ =5.00, 100%). The items with high level was ‘There was the household environmental management in order to enhance them to exercise.’ (x̄ =3.70, 40%) respectively. The family activities organized in order to develop family efficiency in taking care of elderly mental health consisted of physical enhancement activities, mental health enhancement activities as well as economic activities.    

          3. The results of monk roles in family efficiency enhancement in order to take care of elderlies in Phrae province were confirmed that there are 5 aspects as follows. 1. Monk role in family training that was teaching family members to be the persons with parent gratitude, 2. The role in giving moral support to elderlies, 3. The role in coordinating related organizations, 4. The role in organizing family activities, and 5. The role in elderly school support and 6. The role in traditional inherit.


Keywords


family efficiency, Elderlies in Phrae province

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.