การจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม จังหวัดชลบุรี

Linlalee Siriwilailerdanun

Abstract


บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม จังหวัดชลบุรี และ 2) เปรียบเทียบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงศาสนาตามทัศนะของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยววิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม จังหวัดชลบุรี ใช้สูตรของ Cochran และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน

           ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว คือ เพื่อกราบไหว้ สิ่งบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดจีน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.47) โดยด้านสถานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.95) ในประเด็นสถาปัตยกรรมจีนสวยงามและมีคุณค่า และโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางศาสนา รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยว ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสาร ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านบุคลากร และด้านการเข้าถึง ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงศาสนาพุทธสถานวัดจีน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอาชีพ และรายได้แตกต่างกัน มีทัศนะเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

Abstract

             The objectives of this article are 1) to study the management of religious tourism learning resources of Wihanthepsathitphrakitichaloem, Chonburi province. and 2) to compare the management of religious tourism learning resources according to the views of thai tourists. With the sample group thai tourists visiting Wihanthepsathitphrakitichaloem, Chonburi province, using the Cochran formula and selecting a random sample of 400 people.

              The research results were found that most of the thai tourists have a tourism purpose, which is 38.5 percent of worship and worship. Overall, it was at a high level ( = 3.47) with the location having the highest average ( = 3.95) on the issue of beautiful and valuable Chinese architecture. And archaeological sites of religious historical significance, followed by information resource activities In terms of human attraction and accessibility, respectively, when comparing the management of buddhist tourism learning of chinese temples, it was found that professional thai tourists and income is different have views on the management of religious tourism learning resources of the Wihanthepsathitphrakitichaloem, Chonburi province The difference was statistically significant at the 0.05 level.

 


Keywords


Management of Religious Tourism Learning Wihanthepsathitphrakitichaloem Chon Buri Province

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.