การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของกลุ่มจังหวัดล้านนา

Silawat Chaiwong, Phrakrusangkarak Suphanut Phuriwattano, Phrakru sutachayaporn, Phramaha Bavornvit RattanaChoto, Suttiporn Saithong

Abstract


บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือ 1. เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่นำทรัพยากรในพื้นที่มาสร้างสรรค์เป็นแหล่งท่องเที่ยวศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา 2. เพื่อศึกษาสภาพการณ์และศักยภาพการท่องเที่ยวศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา และ 3. เพื่อพัฒนารูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) 2) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) 3) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และ 4) แบบเชิงปฏิบัติการ (Action research) และพื้นที่ในการวิจัยผู้วิจัยได้เลือก 8 จังหวัดภาคเหนือ คือ จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยา

         ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attraction) พบว่า ประวัติความเป็นมาของศิลปกรรม ศิลปะพื้นบ้านและพุทธศิลปกรรมในล้านนาสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของล้านนาได้อย่างชัดเจน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว (Amenities) พบว่า มีบริการร้านค้าเพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibilities) พบว่า สภาพเส้นทางการเดินทางถึงแหล่งท่องเที่ยวมีความปลอดภัย การแสดงข้อมูลการเดินทางในระบบออนไลน์มีความชัดเจน ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว (Activities) พบว่า กิจกรรมทางการท่องเที่ยวสามารถสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะตนทางวัฒนธรรม และด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยว (Administration) พบว่า การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการกำหนด และการสร้างโอกาสให้ชุมชนหารายได้จากกิจกรรมท่องเที่ยว

        รูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา สามารถสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวศิลปะเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา จำนวน 6 รายการนำเที่ยว ใน 8 พื้นที่

 

Abstract

          The objectives of this article were 1) to explore and collect the information on tourist attractions by bringing the local resources to build the tourrist sources with a creative art of Lanna Provicial Group, 2) to study the condition and potential the tourrism with a creative art of Lanna Provicial Group and 3) to develop the model of tourist routes with a creative art of Lanna Provicial Group which was a mixed methods research. It included 1) documentary research, 2) guantitative research, 3) gualitative research and 4) action research. The location of research was selected the North of Thailand. There were 8 provinces namely; Lampang Province, Lamphun Province, Chiang Mai Province, Chiang Rai Province, Mae Hong Son Province, Phrae Province, Nan and Phayao Province.

           The rescarch results showed that the potential of the tourism with a creative art of Lanna Provicial Group on tourist attractive side, it found that the history of arf, folk arts and Buddhist art in Lanna that reflected the identity of Lanna clearly. In terms of tourist amenities side found that there were enough shops service to meet the needs of tourism. The access to tourist sources side found that the condition of the route to reach the tourist sources safety, the data display of travel information in online systems was clear. In tourist activities side tound that it reflected the specific identities on culture and in tourist administration side found that the participation of network partners conducted and opportunity made for community to earn income from tourist activities.

          The model of tourist routes with a creative art of Lanna Provicial Group can create the model the tourist routes of its about 16 programs, taking tours.    


Keywords


The development of art tourism routes

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.