พุทธวิธีในการบริหารจัดการความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์

พระโกศล มณิรตนา

Abstract


บทคัดย่อ

การแข่งขันในยุคปัจจุบันจะขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์การในการสร้างและใช้สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความรู้ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมองค์การในการเพิ่มคุณภาพ การให้บริการใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และการที่องค์การจะสร้างและรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันได้นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์การในการทำให้การเรียนรู้ในองค์การไหลเวียนอย่างต่อเนื่องซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อองค์การมีกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปันและใช้ความรู้ กระบวนการที่ว่านี้คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)เป็นแนวคิดในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้คือการที่จะทำให้คนในองค์การเรียนรู้ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อองค์การทั้งจากภายในและภายนอกเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาตนเองและการดำเนินงานขององค์การ การจัดการความรู้เป็นแนวความคิดที่กำลังได้รับค่านิยมอย่างมากแนวคิดหนึ่ง ซึ่งหลายๆ องค์กรก็กำลังตื่นตัวกับการจัดการความรู้ และคาดกันว่า แนวความคิดนี้อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคตหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีการปรับเปลี่ยนและค้นหาวิธีทางใหม่ๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การ ทั้งนี้การที่องค์การจะสามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิผลนั้นต้องมีการจัดการความรู้ควบคู่ไปด้วยเสมอ

พระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าพระองค์ทรงได้สถาปนาองค์การพระพุทธศาสนาขึ้น หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้แสดงพระธรรมเทศนาจนมีคนศรัทธาเชื่อและได้เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกองค์การพระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้น พระพุทธองค์ทรงบริหารจัดการความรู้โดยประทานแนวคิดและหลักธรรมคำสั่งสอนในการส่งเสริมการบริหารจัดการบุคลากรขององค์การสงฆ์ ให้มีความมั่นคงยั่งยืนและดำรงอยู่มายาวนานจนถึงทุกวันนี้ และอีกอย่างจึงนับได้ว่าการจัดการความรู้ขององค์การพระพุทธศาสนาเป็นการจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้องค์การแห่งการศึกษา

คำสำคัญ : พุทธวิธีในการบริหารจัดการความรู้

 

 

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.