รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมไทย
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย(๑) วิเคราะห์วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมไทย (๒)ศึกษากระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชน และ(๓)สร้างรูปแบบของวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมไทย โดยภาพรวมของตัวแทนหมู่บ้านตัวอย่างในแต่ละภาคดังนี้ (๑) ภาคกลาง หมู่บ้านทุ่งท่าช้าง ตำบลทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี (๒) ภาคเหนือ ชุมชนพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน (๓)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หมู่บ้านเสียว ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (๔) ภาคใต้ วัดลำทับ บ้านลำทับ ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ชาวบ้านมีความสามัคคีกันมาก โดยอาศัยการประสานกันระหว่างผู้นำชุมชนคือ ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส และผู้อำนวยการโรงเรียน ชาวบ้านยังยึดมั่นกับวัฒนธรรมประเพณีที่นับถือกันมาอย่างยาวนานเป็นแบบแผนในการดำเนินการชีวิตภายใต้กรอบของศีล ๕โดยมีรูปแบบที่ยึดถือร่วมกันเป็นวัฒนธรรมด้านอาหาร วัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่ม วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย และวัฒนธรรมด้านยารักษาโรค ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้มีรูปแบบที่เป็นแนวทางการปฏิบัติที่อิงอาศัยความรักความเมตตาของชุมชน พร้อมยอมรับร่วมกันในการกำหนดแบบแผนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของชุมชนตามหลักศีล ๕เสริมสร้างด้วยกระบวนการที่เป็นโครงการ กิจกรรมที่หมู่บ้านต้นแบบกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดการดำเนินชีวิตตามหลักการของศีล ๕ ภายในชุมชนสิ่งสำคัญที่พบคือแนวทางการสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนประกอบด้วยการมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการเคารพกฎกติการ่วมกัน มีความรักความเมตตาต่อกัน ไม่หลงในกระแสวัตถุนิยม มีความเสียสละร่วมกัน การทุ่มเทเสียสละของผู้นำ มีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรักษาสัจจะวาจา การเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำ และความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ มีความพอใจและเพียรพยายามและมีการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม
คำสำคัญ: รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้าง, วัฒนธรรมการอยู่รวมกัน, ชุมชน
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.