การศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในอาเซียน: พหุกรณีศึกษา A Study on Role of Buddhist Monks to Political Participation in ASEAN: Multi-case Studies

พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, พิเชฐ ทั่งโต, ลำพอง กลมกูล

Abstract


การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศอาเซียนกรณีกัมพูชา พม่าและเวียดนาม (2) เพื่อศึกษาผลจากบทบาทพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สะท้อนสู่วิถีวัฒนธรรมและค่านิยมทางสังคม และ (3) เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้บทบาทพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศอาเซียนกรณีกัมพูชา พม่าและเวียดนาม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศ กัมพูชา พม่าและเวียดนาม ประกอบด้วย พระติช นัท อันห์  พระวิรธู และสมเด็จพระมหาโฆษะนันทะ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการศึกษาเชิงพื้นที่ในประเทศที่ดำเนินการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) พระสงฆ์ในประเทศพม่า กัมพูชา และเวียดนามล้วนมีบทบาทในทางการเมืองในแต่ละประเทศทั้งในบทเชิงประจักษ์ที่พระสงฆ์มีส่วนร่วมเอง และบทบาทที่นำหลักคำสอนไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ดังกรณีพระวิรธู ที่เข้าไปมีส่วนชี้นำต่อการเมืองและศาสนาในประเทศพม่า สมเด็จพระมหาโฆษนันทะกับการนำหลักคำสอนไปประยุกต์ใช้เพื่อยุติความรุนแรงในกัมพูชา และติช นัท อันห์ กับบทบาทของพระสงฆ์ที่นำคำสอนไปสู่สังคมเวียดนามและนับเป็นความภาคภูมิใจของคนเวียดนามในปัจจุบัน (2) พระสงฆ์ในกลุ่มที่เป็นกรณีศึกษาตัวอย่างล้วนสะท้อนถึงอัตลักษณ์จารีต โลกทัศน์ของแต่ละประเทศนำไปสู่ค่านิยมในการแสดงออกของแต่ละประเทศ ร่วมทั้งนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ผสมผสานออกมาเป็นแนวปฏิบัติ ดังกรณีของพม่ากับแนวคิดในเรื่องพระพุทธศาสนานิยมเผ่าพันธุ์นิยมโดยการรณรงค์ของพระสงฆ์ในกัมพูชาเกิดความขัดแย้งจนกระทั่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องสันติภาพ การอยู่ร่วมกันภายใต้สถานการณ์สงครามกลางเมือง หรือแนวคิดพระสงฆ์กับการมีบทบาทโดยพระสงฆ์กับการลดความขัดแย้งรุนแรงไม่ให้เกิดการฆ่ากันและกันในเวียดนามในช่วงครามกลางเมืองและสงครามเวียดนาม และ (3) ชุดการเรียนรู้สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่พัฒนาขึ้นมุ่งเพื่อสร้างความเข้าใจวิถีอาเซียน วิถีพระพุทธศาสนาในบทบาทพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศอาเซียนกรณีกัมพูชา พม่า และเวียดนาม และเพื่อทำให้เกิดสันติประชาธรรมในวิถีทางศาสนา ความเชื่อและสังคมในการอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายในวิถีทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง 


Keywords


บทบาทพระสงฆ์, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, พหุกรณีศึกษา

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.