การพัฒนาระบบราชการไทยตามแนวทางสายกลางแห่งองค์มรรค 8 เพื่อประชาคมอาเซียน Development of the Thai Bureaucratic System to Practice the Noble Eightfold Path of Buddhism for ASEAN Community

พัฒน์ธนธร ตันติเวชยานนท์

Abstract


ระบบราชการ ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ใหญ่ที่สุดในการขับเคลื่อนเพื่อการบริหารและการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศ การขับเคลื่อนท่ามกลางปัจจัยสภาพ แวดล้อมและสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมากนั้น รัฐบาลจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อเป็นเป้าหมายร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่จะผลักดันนโยบายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีเป้าหมายที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ลดความเหลื่อมล้ำที่เน้นการพัฒนาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ก้าวสู่การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างสมดุลและปรับระบบบริหารจัดการภายในภาครัฐ ให้ผนึกกำลังกันเป็นระบบที่ครบวงจรและพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นการสมควรที่จะต้องนำเอาหลักพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านวัตถุและด้านจิตใจ


Keywords


การพัฒนาระบบราชการไทย, แห่งองค์มรรค 8, ประชาคมอาเซียน

Full Text:

PDF

References


พิทยา บวรพัฒนา. (2546). รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887–ค.ศ.1970). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ว. วชิรเมธี. (2551). คนสำราญ งานสำเร็จ. แนวมรรค 8 (อัฏฐังคิกมรรค). พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สุภีร์ ทุมทอง. (2557). อริยมรรคมีองค์ 8 ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

Max Weber. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. Translated by A.M. Handerson and T. Parsons. New York: Free Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.