มรดกคนปนมรดกพระ มรดกพระคละมรดกคน The Inheritance of Monk’s properties in Thailand

พระครู อาทรวชิรกิจ

Abstract


ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 31 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ หรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” และมาตรา 37 “บุคคลย่อมมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและการสืบมรดก” พระภิกษุสงฆ์ก็อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญเสมอกับพลเมืองทั่วไปที่นับถือในทุกศาสนา ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  ในมาตรา 37 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในเพศใดย่อมมีสิทธิ์ในทรัพย์และการสืบทอดมรดกทุกประการตามที่กฎหมายกำหนดไว้  ในเมื่อพระภิกษุมีศักดิ์และสิทธิ์ ตามกฎหมายบ้านเมืองทุกประการ พระภิกษุจึงสามารถมีหรือครอบครองทรัพย์สินต่างๆ ตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ และเมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ  ทรัพย์สินของพระภิกษุนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนอุปสมบทและทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศโดยทรัพย์สินจะตกเป็นสมบัติแก่วัด  คือ ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศเท่านั้น 
          แต่ในบางมุมมองของบุคคล  เห็นว่าเมื่อบุคคลออกบวชเป็นพระภิกษุแล้วต้องสละทิ้งทรัพย์สินทุกอย่าง  โดยต้องมุ่งปฏิบัติเพื่อมรรคผล นิพพานเพียงอย่างเดียว  ต้องตัดเรื่องทางโลกให้หมด  ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพราะการบวชเป็นพระภิกษุของชายไทยไม่ได้มุ่งเพื่อมรรค ผล นิพพาน เพียงอย่างเดียว แต่ว่าบวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยในระยะเวลาไม่นานนัก แล้วนำความรู้ต่างๆ ที่ได้มา นำกลับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตฆราวาส เป็นสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา และดำรงไว้ซึ่งประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทย

Keywords


พระสงฆ์ ทรัพย์สินของพระภิกษุ การสืบทอดมรดก

Full Text:

PDF

References


กีรวุฒิ กิติยาดิศัย. (2556). สิทธิเสรีภาพของพระภิกษุสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

จารุรัตน์ ปั้นมณี. (2550). กฎหมายพระสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2537). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

ปลื้ม โชติษฐยางกูร. (2553). คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ 3 พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์. (2513). กฎหมาย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี.

เพรียบ หุตางกูร. (2543). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดก.

พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เดือนตุลา.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2545). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดก. พิมพ์ ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เดือนตุลา.

สภาผู้แทนราษฎร. (2477). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ.2477. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/

สิทธิชัย พูนเกษม. (2530). การชำระหนี้กองมรดก “วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

คณะนิติศาสตร์”. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนีย์ ปราโมช. (2560). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยครอบครัวมรดก พ.ศ.2508. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.