ทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตายของชาวพุทธอินเดีย : กรณีศึกษาชาวพุทธสายวัชรยานในเมืองดาร์จีริ่ง
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตายของชาวพุทธสายวัชรยานในเมืองดาร์จีริ่ง และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและตายอย่างสงบแนวพุทธสายวัชรยาน ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ การศึกษาภาคสนามเพื่อสังเกตสภาพจริงและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามคุณสมบัติและใช้วิธีเลือกแบบสโนว์บอล ได้ชาวพุทธผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 ท่าน ลามะ 3 รูป ใช้วิธีวิเคราะห์แบบชาติพันธุ์วรรณนา และสังเคราะห์สร้างบทสรุปสร้างเป็นรูปแบบองค์ความรู้จากการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตและความตายชองชาวพุทธอินเดีย ศึกษากรณีชาวพุทธวัชรยานในเมืองดาร์จีริ่ง เป็นไปตามคติของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีความเชื่อว่า การเกิด เป็นของได้ยาก ชีวิตมีคุณค่า ความตายเป็นเรื่องของกลไกลทางธรรมชาติ และเชื่อการมีภพใหม่และการกลับชาติมาเกิด และ 2) รูปแบบการใช้ชีวิตและตายอย่างสงบของชาวพุทธสายวัชรยาน ได้แก่ (1) พุทธานุสสติทุกเวลา (2) ปฏิบัติบูชาทุกวัน (3) หมั่นรักษาศีล 5 (4) หาเวลาเจริญสติทุกวัน จึงสามารถสรุปได้เป็น 4E Model for Life
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ไกรฤกษ์ ศิลาคม และหัสดิน แก้ววิชิต. (2560). ผลการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อสุขภาพจิตและความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 16-24.
ทรงเกียรติ เม่นสุวรรณ. (2560). แนวทางการเสริมสร้างสันติภาพตามหลักศีล 5 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(พิเศษ), 363-376.
ธวัลรัตน์ แดงหาญ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบพระโพธิสัตว์ในทัศนะของพระพุทธศาสนามหายานและเถรวาท. ธรรมทัศน์, 13(2), 83-90.
ปรีชา บุตรรัตน์. (2561). แนวคิดพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในสังคมไทย กรณีศึกษาการสร้างพระพุทธรูป. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 18-30.
พระมหาสาธิต ฐิตธมฺโม. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องชีวิตและความตายในพุทธปรัชญาเถรวาทกับกฤษณมูรติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สารภี รังสีโกศัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตายและภาวะใกล้ตายของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุจังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
Kaushal K. Goyal. (2019). Gautama Buddha A biography. New Delhi: Pigeon book India.
Refbacks
- There are currently no refbacks.