โลกทัศน์การพัฒนาของผู้นำท้องถิ่น และเศรษฐกิจหมู่บ้านภายใต้สังคมโลกาภิวัตน์: กรณีศึกษาบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ของผู้นำท้องถิ่นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ “ชาวกูย” ชุมชนบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมหภาคมีอิทธิพลต่อชุมชน โดยเฉพาะมุมมองต่อการพัฒนาชุมชนภายใต้สังคมโลกาภิวัตน์ แต่สภาพการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ สามารถฟันฝ่าอุปสรรคที่เป็นปัจจัยคุกคามจากภายนอกได้ สร้างการมีส่วนร่วมและเกิดความเข้มแข็งในชุมชน
วิธีการศึกษา มุ่งเน้นศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษารายกรณี เครื่องมือในการวิจัยและเทคนิคการเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักโดยระบุกรณีศึกษาผู้นำชุมชนแบบเจาะจง ขอบเขตเนื้อหาใช้ฐานคติการพัฒนาทางเศรษฐกิจสองระบบชุมชนของฉัตรทิพย์ นาถสุภา กรอบแนวคิดการพึ่งตนเองในชนบทด้วยแนวคิดTERMS ของสัญญา สัญญาวิวัฒน์ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการตีความลงสรุปเชิงอุปนัย (Analytic induction)
กลยุทธ์การพัฒนาชุมชนชาวกูยที่บ้านม่วงหวาน-โคกเจริญ กรณีศึกษา นายทองคำ แจ่มใส อดีตกำนันตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้แนวคิด เมื่อวันที่ 20 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ท่านได้ให้ข้อมูลว่า ท่านเป็นคนในพื้นที่นี้มาแต่กำเนิดเติบโตและอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มาตลอดได้สังเกตและสะสมองค์ความรู้ภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่นำมาประยุกต์เป็นแนวคิดในการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้อยู่ดีมีความสุขมีความสมัครสมานสามัคคี เคารพนับถือกัน อย่างไรก็ตามและในช่วงเวลา 40 ปีได้มีโอกาสเป็นทั้งผู้ตาม ผู้ช่วยและผู้นำชุมชนจนเกษียณอายุในตำแหน่งการบริหารท้องถิ่น จากการเป็นกำนันได้ร่วมช่วยงานชุมชนทำให้มีความแน่ใจในความจริง แท้จริงในการพัฒนาชุมชน สิ่งสำคัญคือการที่ทุกคนมีโอกาส ได้มีส่วนร่วมแสดงความเป็นเจ้าของร่วมกันในกิจกรรมและในงานส่วนรวมของชุมชน สิ่งเรานั้นทำให้เกิดปัจจัยสำคัญอันหนึ่งคือ ผู้นำและทีมงานซึ่งเป็นแกนนำในชุมชน จากการออกภาคสนามได้ข้อค้นพบว่า ชุมชนชาวกูยที่บ้านม่วงหวาน-โคกเจริญได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและพัฒนาตัวชุมชนเองนานร่วม 40 ปีทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกันโดยตรงในชุมชนที่หลากหลาย เช่น กลุ่มอาชีพ มีระบบการจัดการตนเองทางเศรษฐกิจและทรัพยากร การแบ่งปันผลประโยชน์คืนสู่ชุมชน เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นประสบผลสำเร็จ 100%ทุกอย่างในกิจกรรมที่ดำเนินการ แต่เป็นส่วนของชุมชนเอง มีความพอใจและภาคภูมิใจที่ได้ร่วมคิด ทำด้วยสติและปัญญา ทำด้วยใจรักและใจบริสุทธิ์ ย่อมทำให้ชุมชนค้นหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรและชุมชนมีอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมนำการพัฒนาและชุมชนมีผลงานเป็นต้นแบบทางการพัฒนาบนจุดยืนของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี และชุมชนมีความสุขKeywords
Full Text:
PDFReferences
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2548). จากประวัติศาสตร์หมู่บ้านสู่ทฤษฎีสองระบบ. สุรินทร์ :
สถาบันราชภัฎสุรินทร์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2544). การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชนบท: ฉบับรวมชุด. กรุงเทพมหานคร : สภาวิจัยแห่งชาติ.
มงคล ด่านธานินทร์. (2541). เศรษฐกิจชุมชนเชิงระบบ: หลักการและแนวการปฏิบัติในเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง: แนวความคิด และยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง.
Refbacks
- There are currently no refbacks.