อิทธิพลพระพุทธศาสนากับการเมืองลาว
Abstract
ชนชาติลาวมีประวัติศาสตร์ การสร้างประเทศผ่านนครรัฐ ที่เรียกว่า “อาณาจักรล้าน ช้าง” ประวัติศาสตร์ไทยเรียก “อาณาจักรศรีสัตนาคณหุต” ต่อมาผ่านวิกฤตการเมือง ประเทศราช ภายใต้การปกครองอาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรสยามหรือไทย ตกอยู่ภายใต้ การปกครองของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ช่วงสั้นๆและตกอยู่ภายใต้การปกครองของ ฝรั่งเศสในฐานะเมืองอาณานิคม การเมืองพัฒนามาจนได้เอกราช ระบบการเมืองพัฒนามา เป็นระบบคอมมิวนิสต์ในที่สุด พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลาวในอาณาจักรล้านช้างผ่านผู้นำประเทศ คือ กษัตริย์ ขุนนาง และประชาชน เมื่อกษัตริย์นับถือพระพุทธศาสนาเป็นตัวอย่างประชาชนที่อยู่ใต้การปกครอง ก็นับถือตาม ยุคกษัตริย์หรือเรียกว่า ยุคราชาธิปไตย คือยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญเติบโต ในจิตใจและฝังแน่นในความคิดความเชื่อจนกลายเป็นวัฒนธรรม ประเพณี ในวิถีชีวิตผู้คน ต่อมาในยุคอาณานิคม ยุคคอมมิวนิสต์ เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาต้องปรับตัวให้อยู่รอดกับ การเมืองที่เปลี่ยนไป พูดให้ชัด คือ การเมืองกำหนดศาสนา ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในลาวได้เป็นที่นับถือของประชาชนส่วนใหญ่ ในขณะ เดียวกันรัฐบาลสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ได้ให้พระ สงฆ์ในพระพุทธศาสนามีบทบาทในการจัดการศึกษาร่วมกับรัฐบาล มีบทบาทในการขัดเกลา จิตใจตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ในอนาคตคาดว่าพระพุทธศาสนาจะมีอิทธิพลต่อ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม นำพาผู้คนพบสันติสุข ตามหลักการ หรือแนวคิด ในพระพุทธศาสนาในการอยู่ร่วมกับประชาคมโลก และคาดว่า รัฐบาลลาวจะเปิดโอกาสให้ พระสงฆ์มีบทบาทมากขึ้นในการทำงานเพื่อส่วนรวมหรือเพื่อประชาชน
Keywords
อิทธิพลพระพุทธศาสนา, สังคมการเมืองการปกครองประเทศลาว
Full Text:
PDFReferences
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์. (2554). คู่มือ การค้าและการลงทุน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพมหานคร : สำนักข่าวพาณิชย์ กรมส่ง
เสริมการส่งออก.
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์, (2537). แลลาว. กรุงเทพมหานคร : แพร่วิทยา.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2558). ประวัติพระพุทธศาสนา.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เทพประวิณ จันทร์แรง.(2541). พระพุทธศาสนาเถรวาท. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2547). ราชอาณาจักรลาว. กรุงเทพมหานคร : สยาม.
พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ.ปยุตฺโต).(2548). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพมหานคร
: ธรรมสภา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2548).การเมืองการปกครองของประเทศในเอเชีย.
นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Refbacks
- There are currently no refbacks.