การจัดการเรียนรู้อาเซียนศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะข้ามวัฒนธรรม ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ชนันภรณ์ อารีกุล

Abstract


การจัดการเรียนรู้อาเซียนศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะข้ามวัฒนธรรมของผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21 เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน การเต รียมความพร้อมของผู้สอนและการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา 2) ด้านกระบวนการ จัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาอาเซียนศึกษาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น ฐาน พ.ศ.2551 เทคนิคการจัดการเรียนรู้อาเซียนศึกษาและการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และ 3) ด้านผลผลิตหรือผลลัพธ์ ซึ่งประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา ทักษะข้าม วัฒนธรรมและเจตคติที่ดีในสังคมพหุวัฒนธรรม ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนอาเซียนศึกษา มิใช่การเรียนรู้เนื้อหาสาระหรือเรียนเพื่อความรู้เท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อทักษะคือ เรียน รู้จากรู้วิชาไปสู่ทักษะในการใช้วิชา เพื่อผู้เรียนสามารถนำทักษะข้ามวัฒนธรรมและทักษะ ต่างๆ ที่จำเป็นไปใช้ในการดำรงชีวิตในฐานะพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียนและพลโลก เพื่อ เป้าหมายสำคัญคือ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน

Keywords


การจัดการเรียนรู้; อาเซียนศึกษา; ทักษะข้ามวัฒนธรรม; ผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21

Full Text:

PDF

References


กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สาระและ

มาตรฐานการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้า

และพัสดุภัณฑ์ (ร.พ.ส.).

ขันทอง วัฒนประดิษฐ์ และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่อง ความหลากหลายทาง

ชาติพันธุ์กับวิถีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษานิสิตประเทศไทย

และนิสิตกลุ่มประเทศ CLMV ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง).

พระนครศรีอยุธยา: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการ

เรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรง

พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เติบโตเต็มตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษา

ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวณี ชัยเชาวรัตน. (2556). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน2559,

จาก http://www.plc2learn.com/attachments/view/

โรงเรียนโนนคร้อวิทยา. (2558). ASEAN "One Vision, One Identity, One

Community" หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559,

จาก http://www.nonkhro.ac.th.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้น

ส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และ กมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคตเปลี่ยนครู

ให้เป็นโค้ช. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). เรียนรู้ อยู่ร่วม บนความ

ต่างของวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/

Content/25574.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่สู่ประชาคมอาเซียน.

กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

________. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง. (2554). เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.

สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2559, จาก http://web62.sskru.ac.th

Abbe, A., Gulick, L. M. V., & Herman, J. L. (2007). Cross-cultural competence in army leaders: A conceptual and empirical foundation. (Study Report 2008-01). Arlington, VA: United States Army Research Institute for the Behavioral and Social Sciences.

Bellanca, J. & Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Student Learn. Bloomington: Solution Tree Press.

Lynch, E.W. & Hanson, M.J. (1998). Developing cross-cultural competence: A guide for working with young children and their families (2nd ed.). Baltimore: Paul H. Brookes.

William, D. (2015). Embedded Formative Assessment. West Palm Beach: Learning Sciences International


Refbacks

  • There are currently no refbacks.