กลวิธานการป้องกันตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน The Self-Defense Mechanism of School Administrators in ASEAN

สุวรรณา สุดปรึก, พระมหา ญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน

Abstract


บทความนี้เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกลวิธานการป้องกันตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน เป็นกลยุทธ์ที่ผู้บริหารสถานศึกษาใช้เพื่อลดสภาวะทางอารมณ์และรักษาจิตใจให้อยู่ในสภาพสมดุล เมื่อใช้แล้วจะทำให้เกิดความสบายใจ สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการบริหารไปสู่ยุคสังคมอาเซียน การบริหารจัดการสถานศึกษา บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา  ได้แก่ บทบาทในการบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป รวมถึงการจัดการความเครียดความวิตกกังวล การเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ได้ กลวิธานการป้องกันตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน ได้แก่ 1) กลไกป้องกันที่บรรลุวุฒิภาวะ 2) กลไกป้องกันแบบสู้สถานการณ์ 3) กลไกป้องกันแบบประนีประนอม 4) กลไกป้องกันแบบคาดการณ์ และ5) กลไกป้องกันแบบเลียนแบบ


Keywords


กลวิธาน, การป้องกันตนเอง, ผู้บริหารสถานศึกษา, อาเซียน

Full Text:

PDF

References


จิราภา เพียรเจริญ. (2556). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครู ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิภา นิธยายน. (2559). การปรับตัวและบุคลิกภาพ จิตวิทยาเพื่อการศึกษาและชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธัญญาภัทร์ เลิศจันทรากูร. (2562). เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

โมไนย อภิศักดิ์มนตรี. (2557). กลวิธานการป้องกันตัวเองของผู้บริหารสถานศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุนทร โคตรบรรเทา.(2554). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.