พุทธวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

พระครูวิเทศ กัลยาณธรรม (ฐิติกร กลฺยาณธมฺโม)

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพุทธวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การศึกษาเอกสารและนำเสนอผลการศึกษาเป็นความเรียง ผลการศึกษาพบว่า  การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาควรมีแนวทางการพัฒนาด้วยกระบวนการ 6 ขั้น คือ 1) การสร้างหลักสูตรที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาสมรรถนะพระธรรมทูต 2) การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง 3) การทดลองงานจากสถานที่ที่สอดคล้องกับการทำงานและเป็นแนวปฏิบัติที่ดี 4) การฝึกปฏิบัติอย่างเข้มและมีประสิทธิภาพ 5) ประเมินผลการปฏิบัติงาน และ 6) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาการฝึกอบรมและการปฏิบัติงานสม่ำเสมอเพื่อพัฒนางานและแก้ไขปัญหา ในด้านการทำงานเผยแผ่ในพื้นที่ภาคสนามจำเป็นต้องทำความเข้าใจในสังคมอเมริกัน และควรวิเคราะห์ SWOT Analysis ของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาโดยภาพรวม ทั้งจุดเด่น  จุดด้อย โอกาส และสิ่งคุกคาม ในการเผยแผ่ เพื่อศึกษาแนวคิด ค่านิยม อุดมคติ และวิถีชีวิตของชาวแคลิฟอร์เนียให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการโน้มน้าวให้คนหันมามองพระพุทธศาสนาและสนใจศึกษาและปฏิบัติทั้งโดยการใช้สื่อในการเผยแผ่ที่นำสมัยและน่าสนใจ และเมื่อพิจารณาใช้วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธวิธีของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงใช้วิธีการหลากหลาย ด้วยการประยุกต์คำสอนให้เข้ากับสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติสังคม จารีตประเพณีของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน การสอนตามแนวพุทธวิธีจึงได้ผลดีเสมอ อย่างไรก็ตามเมื่อผู้สอนได้ปฏิบัติตนตามหลักปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ แล้วจะสามารถเป็นครูที่เพียบพร้อมด้วยจิตวิญญาณที่ดำรงตนเป็นกัลยาณมิตรมีจิตใจบริสุทธิ์จริงใจต่อผู้ที่ตนสอน เช่นเดียวกับการฝึกพระธรรมทูตไทยให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานเพื่อจะสามารถเชิญชวนอเมริกันชนให้หันมาสนใจพระพุทธศาสนา และในบริบทของการเผยแผ่ในด้านที่พระธรรมทูตยังเป็นที่พึ่งของคนไทยควรจะให้คนไทยได้ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงมุ่งสร้างความสามัคคีและกลมเกลียวในกลุ่มคนไทยเพื่อสร้างศักยภาพของคนไทยในต่างประเทศ  ซึ่งพระธรรมทูตไทยจึงควรทำความรู้จักอเมริกาให้ถ่องแท้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยตามหลักการพระพุทธศาสนาไปพร้อมกัน ด้วยการทำงานอย่างทุ่มเทและเสียสละอุทิศตนย่อมประสบความสำเร็จในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา


Keywords


กระบวนการการเผยแผ่พระพุทธศาสนา, วัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย, ประเทศสหรัฐอเมริกา

Full Text:

PDF

References


จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2548). สื่อสารมวลชนกับความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (Mass Media and Security of Buddhism) (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชวพจน์ ถุงสุวรรณ. (2564). กำเนิดวัดป่าธรรมชาติ เมืองลาพวนเต้ แคลิฟอร์เนีย. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จาก http://www.siamtownus.com/2016/New-1808000156-1.aspx.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พระธรรมทูตไทย เบิกทางสู่อารยธรรมใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

_______.(2546). รู้จักอเมริกาหันมาดูศักยภาพของไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระมหาทองสมุทร ธมฺมาทโร.(2560).ประวัติวัดไทยลอสสแองเจลิส. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จาก http://tbdtinusa.blogspot.com/p/watthai-of-los-angeles-8225coldwater.html.

_______.(2564). ประวัติวัดพระธาตุดอยสุเทพ USA. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จากhttp://tbdtinusa.blogspot.com/ p/usa-usa-watphrathat-doi-suthep-usa.html.

พระมหาสุริยา วรเมธี. (2558). สำรวจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 67 – 72.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดไทยลอสแองเจลิส.(2564). ความเป็นมาเกี่ยวกับวัดไทยลอสแองเจลิส. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จาก http://www.watthai.com/about.html.

วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ. (2564). หน่วยการเรียนรู้‎: หน่วยที่ 1 การจัดองค์การ. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จาก

https://sites.google.com/site/rtech603xx/the-unit/iunit- 1?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1.

สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา.(2564). ประวัติและผลงานวัดสุทธาวาส. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จาก https://thaitempleusa.blogspot.com/p/blog-page_77.html.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.(2563). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี 2561-2563. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จาก

https://www.onab.go.th/th/ebook/category/detail/id/1/iid/24

_________.(2562). ทะเบียนวัดไทยในต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564 จาก

https://cco.onab.go.th/th/content/category/detail/id/655/iid/6090.

อุบลรัตน์ เตียรัตน์ และวีระ สุภะ. (2560). ระบบการพัฒนาสมรรถนะของพระธรรมทูตในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13 (พิเศษเล่ม 3), 199 – 210.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ จุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ที่ไม่ทำไม่ได้. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

Christopher Queen, Duncan Ryuken Williams. (1999). American Buddhism :Methods and Findings in Recent Scholarship. London : Routledge.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Pattana Kitiarsa (2010). Missionary Intent and Monastic Networks: Thai Buddhism as a Transnational Religion. Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia, 25(1), 109-132.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.