การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ Need Assessment for Developing Digital Literacy of Clergy Students

กิตฑามาศ ศิริไชย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ 2) เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ ประชากรใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 286 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือแบบประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับน้อยมีค่าเฉลี่ย ( = 2.19 S.D.= 0.83) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ด้านใช้งานอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 2.71 S.D.= 0.91) ด้านเข้าใจอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย ( = 2.28 S.D.= 0.87) ด้านประเมินอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย ( = 2.37 S.D.= 0.72) ด้านปลอดภัยอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย ( = 2.04 S.D.= 0.78) และด้านสร้างอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย ( = 1.63 S.D.= 0.82) และเมื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ ในภาพรวมพบว่ามีค่า PNI modified =1.08 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ด้านสร้าง (Create) มีค่าคะแนนสูงสุด (PNI modified =1.90) รองลงมาคือความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ด้านปลอดภัย (Safe) มีค่าคะแนน (PNI modified =1.28) ถัดมาความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ด้านเข้าใจ (Understand) มีค่าคะแนน (PNI modified =1.07) และความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ด้านประเมิน (Assess) มีค่าคะแนน (PNI modified =0.95) ท้ายสุดเป็นความต้องการจำเป็นเพื่อการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนิสิตพระสงฆ์ด้านใช้งาน (Use) มีค่าคะแนน (PNI modified =0.67) ตามลำดับ


Keywords


การประเมินความต้องการจําเป็น, นิสิตพระสงฆ์, การรู้ดิจิทัล

Full Text:

PDF

References


กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2563). รายงานประจำปี 2563. พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธิดา แซ่ชั้น และคณะ. (2559). “การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ในปัจจุบัน” วารสาร สารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2559) หน้า 117-140.

พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). “ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้” วารสารห้องสมุด ปีที่ 61 ฉบับ

ที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560) หน้า 76-92.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580) (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

Chen, W., Allen, C. & Jonassen, D. (2018). “Deeper learning in collaborative CMap: A mixed methods study of conflict resolution.” Computers in Human Behavior 87 (October 2018): 424-435.

HolonIQ. (2018). Education in 2030. Global Scenarios. (Online). www.holoniq.com/2030, September 16, 2021.

Littlejohn, A., Beetham, K., & McGill, L. (2012). Learning at the digital frontier: A review of digital literacies in theory and practice. Journal of Computer Assisted Learning 28: 547-556.

Mareco, D. (2017). “10 Reasons today’s student need technology in the classroom.” (Online). https://www.securedgenetworks.com/blog/10-reasons-today-s-students- needtechnology-in-the-classroom, September 16, 2021.

Margaryan, A., Littlejohn, A., & Vojt, G. (2011). Are digital natives a myth or reality? University students’ use of digital technologies. Computer & Education 56: 429-440.

Shopova, T. (2014). Digital literacy of students and its improvement at the university. Journal of Efficiency and Responsibility in Education and Science 7(2): 26-32.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.