มิติแห่งการท่องเที่ยวเชิงศาสนาวิถีพุทธอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ดินแดนสวรรค์ตะวันตก เพื่อเพิ่มศักยภาพประชาคมอาเซียนและเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ Dimension of sustainable religious tourism in Buddhist way In the Western Paradise to increase the potential of the A

พระครูศรี สิทธิบัณฑิต ถวิล กลฺยาณธมฺโม, กิตฑามาศ ศิริไชย, อรรถพล อิ่มวิไลวรรณ

Abstract


บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง มิติแห่งการท่องเที่ยวเชิงศาสนาวิถีพุทธอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ดินแดนสวรรค์ตะวันตก เพื่อเพิ่มศักยภาพประชาคมอาเซียนและเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ประเมินความเหมาะสมของพื้นที่และความต้องการในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาวิถีพุทธอย่างยั่งยืนของพื้นที่ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี) รองรับการเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลยุค Thailand 4.0 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาวิถีพุทธอย่างยั่งยืนของพื้นที่ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี) เพื่อสนองนโยบายการท่องเที่ยวและการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และเพิ่มศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวของประชาคมอาเซียนและเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการและผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาวิถีพุทธอย่างยั่งยืนของพื้นที่ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี) ดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ในลักษณะของวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในพื้นที่ศึกษา วัดทิพย์สุคนธาราม รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการอธิบายค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำถามปลายเปิด ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์ประเมินความเหมาะสมของพื้นที่และความต้องการในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาวิถีพุทธอย่างยั่งยืนของพื้นที่ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี) รองรับการเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลยุค Thailand 4.0 โดยมีพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์เป็นจุดเด่นที่ดึงดูดความสนใจ ถือเป็นพระพุทธรูปที่ผสมผสานศิลปะคันธาระ (ปางขอฝน) กับพุทธศิลป์แบบไทยได้อย่างงดงามยิ่ง และเมื่อประเมินความต้องการในการจัดการท่องเที่ยว พบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อนำข้อมูลเบื้องต้นไปพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวฯ พบว่ามีองค์ประกอบหลักจำนวน 3 ด้านในการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวฯ ได้แก่ ด้านสิ่งที่ดึงดูดใจในการท่องเที่ยว ด้านการประชาสัมพันธ์และด้านดิจิทัล ด้านการให้บริการและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาการนำรูปแบบไปเผยแพร่และวิเคราะห์กระบวนการและผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวฯ พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


Keywords


การท่องเที่ยวเชิงศาสนาวิถีพุทธ, ประชาคมอาเซียน, เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ

Full Text:

PDF

References


เอกสารอ้างอิง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, การศึกษาแนวโน้มและทิศทางการท่องเที่ยวไทยในปี 2563 Thai Tourism Scenario 2020, [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, http://www.etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu- 2015/menu-22015/246-22015-scenario2020

ข่าวเศรษฐกิจ, แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวปี 2564, [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, https://kmc.exim.go.th/en/detail/economy-news/20201012142942

ประชาชาติธุรกิจ, ธุรกิจท่องเที่ยว, [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, https://www.prachachat.net/tourism/news-489984

ลัญจกร นิลกาญจน, วัฒนธรรมความเชื่อ กับการจัดการศรัทธาของชุมชน Belief culture with the faith management of the community, Belief culture with the faith management of the community Vol.10 No.2 July-December 2018, P 12.

วรปภา อารีราษฎร์. รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม, วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562, หน้า 137.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรี แถลงทิศ ทางการดำเนินงานด้านการตลาดการท่องเที่ยว ประจำปี 2563, [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563,

http:// 122.155.92.12/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=TCATG20011 5213502225

สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี แผนพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี 4 ปี (พ.ศ.2561 -2564) ฉบับทบทวนใหม่รอบปี พ.ศ. 2562, หน้า 112- 128.

Febby Salam and Rahmat Ingkadijaya, Strategies to Develop Sawahlunto Old City inWest Sumateraas Tourism Destination, Tourism Research JournalE-ISSN: 2598-9839 2018, Vol. 2(2), P 78.

Hsiao-Hsien Lin, Research on the Development of Religious Tourism and the Sustainable Development of Rural Environment and Health, Int. J. Environ. Res. Public Health 2021, 18(5), P 2731.

Kyle D. Johnson. Pilot Study of the Effect of Religious Symbols on Brain Function: Association with Measures of Religiosity, Spirituality in Clinical Practice 2014, Vol. 1, No. 2, 82– 98.

Omatseye, B. O. J. An Appraisal of Religious Art and Symbolic Beliefs in the Traditional African Context, an International Multi-Disciplinary Journal, Ethiopia Vol. 4 (2) April, 2010, (P 529-544)

Zhenzhen Qin. The Sacred Power of Beauty: Examining the Perceptual Effect of Buddhist Symbols on Happiness and Life Satisfaction in China, Int. J. Environ. Res. Public Health 2020, 17(7), P 2551.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.