ทักษะการแปลที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในยุค ๔.๐ TRANSLATION SKILLS FOR LEARNER IN 4.0

Panya Sunanta, Saipin Rungwattanakit

Abstract


การแปลนั้นถือว่าเป็นศาสตร์สำคัญที่มีการศึกษากันมาเป็นระยะเวลานานแล้วตั้งแต่การแปลในยุคแรก ๆ ซึ่งเป็นลักษณะการแปลแบบปากเปล่า หรือการแปลแบบล่าม จนถึงการแปลยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าและแพร่หลายไปทั่วโลก จนทำให้เกิดคำว่า “การแปลข้ามทวีป” ขึ้น การแปลในยุคแรกนั้นเกิดขึ้นราว ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ส่วนในประเทศไทยเริ่มในสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนธรรมเป็นหลัก[1] ต่อมามีการแปลอื่น ๆ อีกมากมายเช่น การแปลข่าว การแปลนิทาน แปลเรื่องสั้น และนิยาย เป็นต้น ลักษณะคำนิยามของการแปลนั้นอาจจะมีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักของการแปลคือการถ่ายทอดความหมายจากภาษาหนึ่งไปยังภาษาหนึ่งทำให้เข้าใจความหมายได้ตรงกัน การแปลนั้นเกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่าง ๆ มากมาย เช่นภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา ธุรกิจการค้าการลงทุนและเทคโนโลยี เป็นต้น ดังนั้น นักแปลจะต้องศึกษาและเรียนรู้ศาสตร์
อื่น ๆ ด้วยเพราะความรู้แบบสหวิทยาการนั้นมีความจำเป็นมากในการแปล การแปลนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ[2] การแปลโดยพยัญชนะ และการแปลแบบเอาความ นักแปลจะเลือกใช้วิธีแปลแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาของต้นฉบับและประเภทของงานแปลซึ่งมีมากมาย เช่น การแปลทางศาสนา ทางปรัชญา การแปลนวนิยาย เรื่องสั้น การแปลทางกฎหมาย หรือการแปลด้านการเงินการธนาคาร เป็นต้น งานแปลที่จะออกมาดีมีคุณภาพตามต้องการนั้น ผู้แปลควรจะมีคุณสมบัติของนักแปลด้วย เช่น ความสามารถในการใช้ภาษาทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปล รู้จักทำนองการเขียนและลักษณะภาษาที่ใช้ เมื่อนักแปลรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ของการแปลแล้ว ก็จะทำให้ผลิตงานแปลออกมาได้ดีมีคุณภาพ สื่อความหมายได้ถูกต้อง


[1] วรรณา แสงอร่ามเรือง. ทฤษฎีและหลักการแปล. (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๔๒), หน้า ๓๖.

[2] ดวงตา สุพล. ทฤษฎีและกลวิธีการแปล (พิมพ์ครั้งที่ ๔). (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑), หน้า ๙๖.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.