รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษา ๕ ๒) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ๕ ๓) เพื่อนำรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ๕ ไปขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองพัทลุง
ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม มีนักเรียนจำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงาน คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามีความคิดเห็น ของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
๑. รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ๕ มีชื่อว่า “EPAE Model” มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๗๘.๒๙/๘๑.๓๐
๒. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ๕ พบว่า ๒.๑) หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒.๒) นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบมีพัฒนาการด้าน ทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก ๒.๓) หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโดย ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
๓. ผลการขยายผลรูปแบบพบว่า หลังการเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
มีพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นจากระดับ ปานกลางเป็นระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.