รายงานการพัฒนาบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ ๒๐๑๖ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ REPORTS ON THE DEVELOPMENT OF NETWO

Praewnapa La-in

Abstract


บทคัดย่อ

 

รายงานการพัฒนาบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียน
กลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์
เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล
วัดเหมืองแดง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ศึกษาเอกสารงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาปัญหาและความต้องการ ของผู้ปกครอง ครูคอมพิวเตอร์ และบุคลากร
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์
พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 85/85 3)
ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการใช้บทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 4) ศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อบทเรียนเครือข่ายรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในจุดประสงค์ ข้อที่ 1 มี
3 ส่วน ดังนี้

1.สอบถามความคิดเห็นของค์รูคอมพิวเตอร์ ด้วย Google Form ในห้องสนทนาออนไลน์ 3 ห้อง ได้แก่ 1) กลุ่มครูคอม คศ.3 ประกอบไปด้วยครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ ทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 17 คน 2) กลุ่ม คบ.เพชรบุรี 426150/1 ประกอบไปด้วยครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา และสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวน 14 คน 3) กลุ่ม Sites ร.ร.เทศบาล ประกอบไปด้วยครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ และบุคลากร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ทั้งระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 15 คน 2. ผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ปีการศึกษา 2560 และ 3. นักเรียนที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ปีการศึกษา 2560 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้จุดประสงค์ข้อที่ 2-4 ได้แก่ นักเรียนที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 42 คน และในขั้นทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว แบบกลุ่ม และแบบภาคสนาม และนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ปีการศึกษา 2561 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 จำนวน 39 คน ในการทดลองใช้จริง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ 1) บทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการเรียนด้วยบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนา
การเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเชื่อมั่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การเปรียบเทียบความต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test

 

ผลการศึกษา

          1. จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อการวิจัยสภาพการจัดการเรียนการสอน และความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน ของค์รูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ โดยสอบถามความคิดเห็นของค์รูคอมพิวเตอร์ ด้วย Google Form การสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ปีการศึกษา 2560 และนักเรียนที่เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ปีการศึกษา 2560 กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ เป็นรูปแบบที่กลุ่มเป้าหมายโดยส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดแก่นักเรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะสำคัญยิ่งในการพัฒนาให้นักเรียนก้าวเข้าสู่การเป็นพลเมืองของโลกในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุข และมีคุณภาพ แนวทางการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ผู้วิจัยสามารถสรุปแนวทางการพัฒนา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ได้เป็นข้อๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดสร้างสรรค์ เช่น การให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งโรงเรียนและนอกโรงเรียน
ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน 2. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อสร้างให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเอง 3. นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้แสดงความคิดเห็น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อน นักเรียนกับผู้ปกครอง และนักเรียนกับครูผู้สอน 4. บรรยากาศในการเรียนรู้ และวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ของนักเรียน

          2. ประสิทธิภาพของบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียน
กลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในการทดลอง
กับกลุ่มเป้าหมาย มีค่าเท่ากับ 83.22/82.91 ซึ่งแสดงว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

          3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 16.67 คะแนน ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนเท่ากับ 24.87 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น 8.20 คะแนน

          4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ 2016
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


Keywords


บทเรียนเครือข่าย, การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน, ทักษะการคิดสร้างสรรค์, การเรียนรู้ด้วยตนเอง

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.