เศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับการพัฒนาความสุข Buddhist Economics and Happiness Creation

Silawat Chaiwong

Abstract


ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของจิต จะทำให้พระพุทธศาสนามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาเรื่องความสุข และหนทางที่จะนำความสุขและสันติภาพมาสู่สังคมมนุษย์ และเชื่อว่าจะเป็นมิติใหม่ของการศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งสำหรับประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบทุนนิยมได้พัฒนาไปแล้วอย่างมาก สังคมทุนนิยมในทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์ เป็นสังคมที่แก้ไขปัญหาพื้นฐานที่มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนทรัพยากร ประสิทธิภาพและการสร้างความเจริญทางวัตถุ จึงเป็นทางออกที่สำคัญ นี่เป็นการมองจากด้านมุมหนึ่งที่เห็นว่า มนุษย์มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด เมื่อความต้องการเหล่านั้นได้รับการตอบสนองแล้ว ความสุขและความสมหวังจากการที่ได้ใช้ทรัพยากรก็จะเพิ่มมากขึ้น เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ช่วยส่งเสริมให้คนบริโภคด้วยปัญญา มีเหตุมีผล ตรงกันข้ามกับการบริโภคในปัจจุบันนี้ ที่แข่งขันกันบริโภคหรือบริโภคเพื่อหน้าตา หรือบริโภคด้วยการถูกชักนำด้วยสื่อกระแสหลัก ซึ่งได้ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด โดยพื้นฐานพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความมั่งคั่ง (wealth) หรือระบุว่าความมั่งคั่งเป็นความชั่วร้ายในสองเหตุผลก็คือ หนึ่ง ความมั่งคั่งทางวัตถุสามารถป้องกันเราจากความลำบากและความยากจน และสองช่วยเหลือมนุษย์ในการพัฒนาความเมตตากรุณา ถือเป็นกุศลจิต และทำให้สังคมมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะความสุขที่แท้จริง มิได้เกิดจากการบริโภควัตถุแต่อย่างใด หากแต่เกิดขึ้นจากสภาวะของจิตใจภายใน

The comprehensive knowledge about the nature of mind makes Buddhism very essential in studying about happiness and the way people in the society can live in peace. Both developed and developing country which capitalism is widespread can get benefit from studying these. From the view of an economist, capitalism is an economic system of which motive for producing goods and services is to sell them for a profit, not to satisfy people's needs. According to this, it can be seen clearly that people’s needs never end. Almost all products use the marketing strategies to create fake need. Because of this, people will feel that they really need to possess that product and they will feel happy only if their needs are fulfilled. In contrast, Buddhist economics asks people to live wisely. Buddhism does not deny the wealth or say that it was the devil. The wealth can actually save 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.