ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ The Characteristics of Great Pandit

Phamaha Phanuwat Seankum Phamaha Phanuwat Seankum

Abstract


คำว่า “บัณฑิต” มาจากภาษาบาลีว่า “ปัณฑิตา” ซึ่งแปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา  ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า “พาล” (พาลา พาโล) ที่แปลว่าคนโง่ หรือคนที่ดำเนินชีวิตด้วยตัณหา โดยทั่วไปแล้ว  คุณค่าและความสำคัญของบัณฑิตทางโลกจะถูกวัดด้วยใบปริญญาที่จะนำไปเป็นเครื่องมือสำหรับการันตีเพื่อเป็นใบเบิกทางในการแสวงหาอาชีพ และวัตถุเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ฉะนั้น หากจะกล่าวว่าบัณฑิตหมายถึงผู้ฉลาด คำว่า ฉลาดในบริบททางโลกย่อมหมายถึงความฉลาดในการใช้ความรู้เพื่อเอาตัวรอดโดยการแสวงหาปัจจัยสี่มาเป็นเครื่องมือหล่อเลี้ยงร่างกาย  แต่เมื่อกล่าวถึง “บัณฑิตในทางธรรม” ย่อมมีนัยที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพราะบัณฑิตในบริบทนี้ แม้จะหมายถึง “ความฉลาด” เช่นเดียวกัน แต่เป็นความฉลาดทางปัญญา ที่ไม่ได้หมายถึงการเอาตัวรอดทางกายภาพเท่านั้น หากแต่เป็นการพาตัวเองให้หลุดพ้นจากกับดักของ “โลกธรรม” ที่มนุษย์กำลังเผชิญหน้าในทุกขณะของการดำเนินชีวิตและการทำงาน 

การศึกษาเรื่อง “ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายถึงลักษณะของบัณฑิตที่ดี บัณฑิตกับการมีจริยธรรม บัณฑิตกับการมีความรู้ บัณฑิตกับการมีความคิด บัณฑิตกับการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม บัณฑิตกับการสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ ความเป็นสังคมชุมชนวิชาการ บัณฑิตกับการสมาคมในสังคมชุมชนวิชาการ รวมถึงยังได้กล่าวถึงการสั่งสอนและอบรมบัณฑิตที่ดีว่าควรทำอย่างไร การคิด พูด อ่าน เขียนของบัณฑิตและการทำตนให้เป็นที่ยอมรับในสังคมชุมชนวิชาการ 

The term “Pandit” is from Pali word “Pantita”. It means “one who lives with wisdom”. This word is opposite to “Pan” or “Pala” or “Palo” which means “the fool”, one who lives with dullness. In general, value and importance of “Pandit” are evaluated by the degree or the certificate which will guarantee the graduate’s qualification in applying for a job. The wisdom here is the ways people get their four requisites. In the other hands, when we come to describe the word “Pandit” in terms of dhamma, it has got much deeper meaning. This is to say, it means “wisdom” not only in secular aspect but also in religious one. One should not be trapped in passion.

            The objective of this research is to study and describe the characteristics of good “Pandit” and other aspects which are related to “Pandit” such as moral, knowledge, idea, communication and academic societies. Moreover, it shows the way “Pandit” should follow, study and be accepted in academic societies.

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.