การศึกษารูปแบบและเทคนิควิธีการสร้างพระพุทธรูปศิลปะพม่า – ไทใหญ่ ที่ปรากฏในนครลำปาง "The Format and Techniques of Creating Burmese – Shan Buddha Image in Nakhon Lampang"

Thapakon Kruaraya

Abstract


การศึกษาเรื่อง “รูปแบบและเทคนิควิธีการสร้างพระพุทธรูปศิลปะพม่า – ไทใหญ่ ที่ปรากฏในนครลำปาง”  มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมรูปแบบและลักษณะของพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลปะแบบพม่า – ไทใหญ่ เพื่อจำแนกประเภทและอายุสมัย รวมไปถึงเทคนิควิธีการสร้างของพระพุทธรูปศิลปะพม่า – ไทใหญ่ ที่ปรากฏในนครลำปาง เพื่อนำมาวิเคราะห์พุทธศิลปะ ทางด้านคติความเชื่อ เทคนิคการตกแต่ง รวมถึงลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปสกุลช่างพม่า-ไทใหญ่ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จะสามารถนำไปใช้ในการสร้างและอนุรักษ์ รวมถึงผลักดันให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น  ลักษณะการวิจัยเป็นเชิงคุณภาพสำรวจลงพื้นที่ซึ่งมีวิธีการศึกษาในเชิงปฏิบัติการร่วมกับคนในชุมชน ทั้งการสอบถามรายละเอียดสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม พร้อมทั้งทำการสำรวจ  บันทึกภาพรายละเอียดต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ช่วงอายุ กลุ่มช่าง และเทคนิคการสร้าง

ผลการศึกษาพบว่าพระพุทธรูปศิลปะพม่า – ไทใหญ่ ที่ปรากฏในนครลำปางมีเทคนิคในการสร้างรวมทั้งสิ้น 7 เทคนิค คือ 1) งานแกะสลักด้วยไม้  2) งานแกะสลักหินอ่อน  3) งานหล่อโลหะ 4) งานปูนปั้น  5) งานปั้น-กดพิมพ์รักสมุก  6) งานแมนเพียยา (เทคนิคเครื่องเขิน)  7) งานสาน (พระเจ้าอินทร์สาน) จากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ทำการสำรวจ จำนวน 13 แหล่ง(วัด)  ซึ่งจากการเก็บข้อมูลทำให้สามารถจำแนกประเภทและอายุสมัยออกเป็นช่วงพุทธศตวรรษ ซึ่งพระพุทธรูปศิลปะพม่า – ไทใหญ่ ปรากฏตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 รวมทั้งได้รวบรวมรูปแบบและลักษณะของการประดับตกแต่งพระพุทธรูป อันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างพม่า – ไทใหญ่ ที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและเข้ามาทำกิจการป่าไม้ในลำปางสมัยนั้น ทั้งนี้ขอมูลดังกล่าวได้นำมาวิเคราะห์ตีความการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านคติความเชื่อ เทคนิคการตกแต่ง รวมถึงลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะพม่า – ไทใหญ่ ที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นั้น สามารถนำไปใช้ในการสร้างและอนุรักษ์ รวมถึงผลักดันให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในอนาคต

นอกจากนี้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรเข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์รักษาพุทธศิลปกรรมดังกล่าว ชี้ให้ชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญ เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกรักและหวงแหงมรดกทางวัฒนธรรมชุมชนตน ซึ่งในอนาคตชุมชนอาจจะเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุและเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม โดยชุมชนสามารถนำองค์ความรู้เพื่อเป็นฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการต่อไปในอนาคต

A study of "The Format and Techniques of Creating Burmese – Shan Buddha Image in Nakhon Lampang" has an objective to collect the forms and appearances of the Buddha image in Burmese – Shan art to classified category, period and creating technique of them. Then analyze the Buddhist art about beliefs, decorating techniques including the special appearance of Burmese – Shan style Buddha Image. The knowledge about this can use for creating the new one, conservation and push up them to be the local cultural heritage. This qualitative research field study used a survey through workshop with local people in the community and an individual and focus group interview. Then, recording and analyze their periods, craftsmen and creation techniques.

The study result showed that Burmese - Shan Buddha Image in Nakhon Lampang have seven creation techniques: 1) Wood Carving 2) Marble carving  3) Metallic Casting 4) Stucco 5) sculpture - the printing press 6) Man Pia Ya (Lacquerware Technique) 7) Bamboo Weaving (Phra Chao In Sarn)  from the cultural heritage surveying of 13 temples.  The total information can be classified category and period of the Burmese - Shan Buddha art appearance since the late of 24th to early 25th of Buddhist century and this is the collection of unique identity format and Buddha image decorating techniques of Burmese-Shan craftsman who evacuate to settlement to work in forestry concession in Lampang at that time.  This information was analyzed and interprets about the changing of beliefs and decorating techniques including the appearance of the Buddha image in each period. These will be the wisdom for Buddha image creation, conservation and push up them to be the local cultural heritage in the future.

In addition, the related organizations should educated local community about Buddhist arts conservation and suggest them the values and significant, Strengthen conservative awareness of their own cultural heritages. In the future, local community may register their antiquities to be the national antique collection  and cultural heritage site by using these research databases for management.

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.