หลัก 3 ไตร เพื่อการพัฒนา The threefold training (Tri Sikkha) for development
Abstract
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสหลักธรรมไตรสิกขาดังปรากฏใน วัชชีปุตตสูตร และทุติยสิกขัตตยสูตร และตติยสิกขาสูตร ขณะทรงประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี หลักไตรสิกขา คือ หลักการพัฒนาความประพฤติทางกาย ทางจิต และปัญญา เพื่อการแก้ปัญหาของมนุษย์ เพื่อความดับทุกข์ นำไปสู่ความสุขและความเป็นอิสระแท้จริงสู่ผู้ปฏิบัติ ในสมัยแรกเริ่มแห่งพระพุทธศาสนา ภิกษุทั้งหลายตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรม ดำเนินชีวิตอยู่ในไตรสิกขา ไม่มีใครประพฤตินอกรีตผิดไปจากความเป็นภิกษุ เพราะหลักธรรมไตรสิกขา เป็นที่ศูนย์รวมของสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ เป็นสิกขาบทพื้นฐานแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ มีสาระสำคัญประกอบด้วย อธิศีลสิกขา คือ ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของศีล อธิจิตตสิกขา คือ ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจหรือสมาธิ และ อธิปัญญาสิกขา คือ ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของปัญญา เรียกสั้น ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หลักการ ทั้งสาม ส่งผลให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่ดีงาม เกื้อกูลในสังคม ไม่เบียดเบียนกัน ประสานสังคมนำไปสู่การเผื่อแผ่แบ่งปัน และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อกันและสังคม
As shown in the threefold training, the Lord Buddha had said in Watcheeputtasuttra and Tatiyasuttra while stying at Kutakala pavilion, Mahawana forrest, Vesali. The main principle is threefold physical, spiritual, and intellectual development behavior to solve human problems, end suffering, and lead to real happiness and independence to the practice. In the beginning of Buddhism, the monks tended to practice Dharma by conducting their lives with the threefold training, and no one misbehaved from his status.
Because of the threefold training is a center of the disciplines in Patimok, a fundamental of practicing celibacy. The threefold training is consisted with 1) the morality; a regulation about the precepts, 2) the concentration; a regulation about the mental or meditation, and 3) the intellectual virtue; a regulation about wisdom.
They are called Sila (morality), Samathi (concentration), and Panya (wisdom). These threefold training has resulted in good human behavior, compassionate in society, not to harm each other, social integration that lead to generous sharing, and to benefit from each other and society.
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.