การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา The Leadership of the Group Executive Charity School of Buddhist Temples.
Abstract
การสร้างภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาผู้บริหารนั้นต้องนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน การทำงานให้ประสบความสำเร็จในการบริหารกลุ่มโรงเรียนการกุศล โดยนำหลักปาปณิกธรรม 3 เป็นหลักธรรมที่เหมาะสมในการนำมาสร้างคุณลักษณะของผู้บริหาร หลัก พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐ และบริสุทธิ์ในการทำงานร่วมกัน และหลักอิทธิบาท 4 หลักพื้นฐานแห่งความสำเร็จ หรือทางสู่ความสำเร็จ เมื่อนำหลักธรรมทั้ง 3 นี้มาประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนการกุศล จะก่อให้เกิดความรอบคอบ รอบด้านในการพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนางาน ของกลุ่มโรงเรียนการกุศล โดยการสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนการกุศล ซึ่งผู้บริหารคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาของวัดในพระพุทธศาสนา ต้องมีการพัฒนาตนเองให้มี คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน ที่ทำงานด้วยความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความตั้งใจจริง มีองค์ประกอบสำคัญคือ จักขุมา เป็นผู้บริหารมีปัญญามองการไกล มีภูมิรู้ทางด้านการศึกษา มีการพัฒนาคนเพื่อให้การอยู่ร่วมกันด้วยความสุข ความเมตตา ทั้งกาย วาจา ใจ ความกรุณา สงสารเห็นอก เห็นใจในการอยู่ร่วมกัน มุทิตา มีความยินดีเมื่อผู้อื่น มีความสุข และอุเบกขา มีความเป็นกลางในการบริหารงาน มีการพัฒนางาน ด้วยอธิบาท 4 อันเป็นเครื่องให้ลุถึงความสำเร็จ ด้วยความพึงพอใจในงาน มีความพากเพียรให้งานสำเร็จ ไม่ทอดทิ้ง และวิมังสาเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งในการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับสภาวะแวดล้อมทางสังคม สามารถวิเคราะห์ปัญหาและแนวโน้มทางการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจน มีความเป็นผู้นำ ในด้านการปฏิรูปการศึกษา เป็นผู้นำ ทางวิชาการและเป็นผู้นำในการบริหาร วิธูโร เป็นผู้บริหารมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีภูมิรู้ทางการบริหาร มีความรู้ในหลักการบริหารเทคนิคทางการบริหารและการวางแผนกลยุทธ์ ตลอดจนสามารถนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การบริหารการจัดการศึกษาสำเร็จ ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด และนิสสยสัมปันโน เป็นผู้บริหารมีความสามารถในการใช้ศาสตร์และศิลป์ มีทักษะด้านคตินิยม ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ทักษะด้านเทคนิควิธี มีความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคล เงิน วัสดุครุภัณฑ์และอาคารสถานที่ ตลอดจนมีความสามารถในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ทั้งในสถานศึกษาและในชุมชนมาพัฒนาการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ภายในสถาบันการศึกษาให้ประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศ
To build the leadership for executives, three types of dharmic principle must be applied to develop their self-confidence and self-esteem. First is “Pa-pa-ni-ka-dham3” or “qualities of a successful shopkeeper or businessman”, which is the most suitable one used in shaping their characteristics. Second is “Prom-wi-han4” or “Four Sublime States of Mind” which can make great teamwork. And the last one is “It-thi-bat4” or “basis for success”, which leads to the success. All of these will make executives manage charity schools effectively. Executives are the directors of the charity school in Buddhist temple. They should be knowledgeable, professional, creative and determined. Moreover, the important qualifications consist of Jak-ku-ma (expert, broad view), Met-ta (mercy), Ga-ru-na (sympathy), Mu-ti-ta (kind-hearted) and Au-bek-kha (Neutral). In addition, It-thi-bat4 can make executives achieve their goals, feel satisfied, be patient as well as keep working until it is done, and Wi-mang-sa can help work done effectively and efficiently. To relate between an education and a social environment, executives ought to analyze a problem and a trend in educational system, lead an organization, plan a strategy and be a leader. Wi-tu-ro means being professional. This is to say, good executives take the lead. They have personality, courage, clear vision with ambition to succeed. They also encourage the team to perform to their optimum all the time and drive organizational success. They know that they will not have a happy and motivated team unless they themselves exhibit a positive attitude. Ni-sa-ya-sum-pun-no applies ideology, interpersonal relations, technical skill, human resource, fund, material, facilities into administrative management of the charity school.
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.