การประยุกต์ใช้อิทธิบาทธรรม เพื่อประสิทธิภาพการบริหารงานในองค์กร The path of accomplishment (Iddhipada) application for the effective management of the organization

Vasitpol Kunprom

Abstract


ความรู้ความสามารถของบุคลากรเพียงอย่างเดียวมิอาจทำให้องค์กรประสบผลสัมฤทธิ์ได้ หากบุคลากรในองค์กรนั้นปราศจากความตั้งใจและเต็มใจ ที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ  ดังนั้นการที่บุคลากรปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด พระพุทธศาสนาได้แสดงหลักแห่งการบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานในองค์กรอันสามารถทำให้งานนั้นบังเกิดสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เรียกว่า  อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมแห่งความสำเร็จ และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ผู้นำไปปฏิบัติแล้วประสบความสำเร็จเกิดประสิทธิภาพในองค์กรนั้น อันประกอบด้วย 1) ฉันทะ: ความพอใจในสิ่งนั้น 2) วิริยะ: ความเพียรพยายามทำในสิ่งนั้น 3) จิตตะ: เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น 4) วิมังสา: หมั่นพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นให้กระจ่างชัด จากอิทธิบาท 4 ดังกล่าว พอสรุปได้ว่า คนเราต้องพอใจในงานที่ทำและมีความเพียรพยายามเอาใจใส่ในหน้าที่การงานนั้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพินิจพิจารณา อย่างรอบคอบรอบด้านงานนั้นจึงจะประสบผลสำเร็จ

The only of personnel ability was not enough to make the organization achieved if the people in the organization have no intention and willingness to work with ones’ ability.Therefore, the personnel performing is achieved the maximum performance achievement, Buddhism demonstrates the effective management principle. The organization practice can make an achievement happen according to the objectives set namely; the path of accomplishment (Iddhipada 4). This principle practice will lead to successful performance in the organization, and they are consisted with 1) Chanda (aspiration), 2) Viriya (perseverance), 3) Citta (dedication), and 4) Vimamsa (consideration).From the four path of accomplishment mentioned above, the people must be satisfied and attempted in caring of their work constantly with the careful considerationabout their work, then they will be successful.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.