การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนำธรรมะ สู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ The PAR-Based Study of Community Residents’ Participation in Their Implications of Dharma-Oriented Process through Strengthening Patients’ Mental Treatment

Phramahaphanuwat Patibhannamethee, Group-author

Abstract


      ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) ที่ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ ในจังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาศักยภาพจิตอาสานำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ 2. เพื่อวิเคราะห์ผลที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาศักยภาพจิตอาสานำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ

       จากการศึกษา พบว่า ปัญหา อุปสรรคที่พบในการจัดโครงการฯ มีด้วยกัน 3 ปัญหา ก็คือ 1. ปัญหาด้านบุคลากร 2. ปัญหาด้านเวลา 3. ปัญหาด้านกิจกรรม จากการวิเคราะห์ผลที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำกระบวนการพัฒนาศักยภาพจิตอาสานำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ สามารถสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วย เป็นการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการนำเอาปัจจัยและแหล่งประโยชน์ที่เป็นบุคคล ชุมชน มามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยเป็นการดูแลที่ซับซ้อน เป็นการใช้แหล่งประโยชน์ในชุมชน โดยการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อันเกิดจากการสร้างคนในชุมชนของตนเอง ให้มีความรู้ เกิดความตระหนัก มีทัศนคติที่ดี มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพื่อจัดระบบการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งยังสร้างเครือข่าย เกิดการประสานงาน ส่งต่อข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง จังหวัดลำปาง มีพันธกิจด้านบริการวิชาการแก่สังคม และตระหนักถึงความสำคัญของการนำพระพุทธศาสนาเข้ามาปรับใช้ ผสมผสานไปพร้อมๆ กับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยจัดทำโครงการ “นิสิตจิตอาสานำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ”[1] เพื่อดำเนินกิจกรรมสำหรับฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วย ที่มีความทุกข์ทรมานด้านร่างกายและด้านจิตใจ จากความเจ็บป่วยของตนเองหรือบุคคลอันเป็นที่รัก

              โครงการนิสิตจิตอาสานำพาธรรมะสู่ผู้ป่วย เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถปฏิบัติศาสนกิจและพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อของแต่ละบุคคลได้สำเร็จเหมือนอยู่ที่บ้าน โดยไม่ขัดต่อแผนการรักษาของแพทย์ มีความผาสุกด้านจิตวิญญาณ คลายความวิตกกังวล มีพลังและกำลังใจที่จะต่อสู้กับภาวะคุกคามของโรคต่อไป มีสัมพันธภาพที่ดีต่อ เพื่อนผู้ป่วยด้วยกันและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยในและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแผนกอื่นๆ มากขึ้น และมีความเป็นกันเองมากขึ้น ตลอดจนเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยในมีความรู้สึกที่ดีต่อการปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง และให้นิสิตมีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณะได้บริการสังคม สามารถนำนวลักษณ์ที่พึงประสงค์ไปปฏิบัติได้จริง

     ลักษณะของกิจกรรมในโครงการเป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ให้มีสุขภาวะทางจิต มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคร้าย แม้บางโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความสุขใจในบุญกุศลหรือกิจกรรมที่ร่วมทำกับนิสิต เป็นการสะสมเสบียงบุญไว้ใช้ในสัมปรายภพตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนา  เนื่องจากกิจกรรมที่นิสิตกับผู้ป่วยได้ทำร่วมกันล้วนสอดคล้องกับคติความเชื่อและเป็นประเพณีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน เช่น  จัดสิ่งแวดล้อมส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา จัดงานวันสงกรานต์และวันขึ้นปีใหม่ไทยสานสัมพันธ์สายใยครอบครัวใส่ใจวิถีพุทธ และปฏิบัติศาสนกิจ/ปฏิบัติตามความเชื่อของผู้ป่วยและญาติตามแนววิถีพุทธที่ไม่ขัดต่อแผนการรักษาของแพทย์ เช่นทำบุญตักบาตรเช้าทุกวันศุกร์ ทำวัตรสวดมนต์ ฝึกทักษะการคลายเครียด ผูกแขนให้พรในเทศกาลต่างๆ นิมนต์พระสวดมนต์ให้พรผู้ป่วยระยะสุดท้าย ให้คำปรึกษาการบริหารกาย จิต สมาธิบำบัด และติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรัง/ระยะสุดท้าย

       จากผลการประเมินโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2556พบว่า ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วย ตลอดจนแพทย์ผู้ทำการรักษา มีความพึงพอใจการดำเนินงานของโครงการอยู่ในระดับมาก แต่อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานทำให้ผลการดำเนินงานด้อยประสิทธิภาพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดจากตัวนิสิตที่เข้าร่วมโครงการขาดความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำ ตลอดจนขาดความเข้าใจในองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยให้ถูกต้องตามหลักวิชาทางการแพทย์ และทางวิทยาลัยสงฆ์นครลำปางได้พัฒนาศักยภาพของพระนิสิตมาโดยตลอดเพื่อ พัฒนาพระนิสิตให้เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานควบคู่กันไปโดยวิธีการให้ความรู้และหรือวิธีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทักษะและทัศนคติซึ่งจะช่วยให้บุคลากรมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานสูงขึ้นรวมทั้งการใช้วิธีการจูงใจและเปิดโอกาสให้บุคลากรได้นำความรู้ความเข้าใจทักษะและทัศนคติที่ได้จากการพัฒนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสมตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ สำเร็จประโยชน์ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย สามารถลงภาคปฏิบัติสู่ชุมชนในพื้นที่ในจังหวัดลำปางได้

       จากข้อความข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ และเพื่อวิเคราะห์ผลที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ

         The research on a study of the value of stucco art within temples of Lampang people has the following objectives; 1) to study the perception of the value of stucco art within temples of Lampang people, and 2) to study the creating value and cultural values of stucco arts within temples of Lampang residents. This research is a Qualitative Research using structured interview. The results found that the stucco art has expressed the ability and wisdom of the creator by using self’s wisdom or ancestral succession and inserting their creative ideas as well as faith and the doctrine of Buddhism both in Dhamma puzzle or strange shape’s form, and most of the stories have Buddhist beliefs as well. The stucco artwork reflects the religious values and animal pictures which molding it together with angels such as Giant, Shiva, Indra, Brahma, Vishnu, and novels’ animals in Himmapan Forest. The cultural value creation of stucco art can be summarized in six areas as following; Fine arts, Painting, Sculpture, Architecture, Literature, and culture. The cultural value creation of stucco art which caused the value or price of the stucco creation is determined by the set of values in three areas as following; Tourism promotion, Monetization, and Training.

 


 

Full Text:

PDF Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.