การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนำธรรมะ สู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ The PAR-Based Study of Community Residents’ Participation in Their Implications of Dharma-Oriented Process through Strengthening Patients’ Mental Treatment
Abstract
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) ที่ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ ในจังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาศักยภาพจิตอาสานำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ 2. เพื่อวิเคราะห์ผลที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาศักยภาพจิตอาสานำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ
จากการศึกษา พบว่า ปัญหา อุปสรรคที่พบในการจัดโครงการฯ มีด้วยกัน 3 ปัญหา ก็คือ 1. ปัญหาด้านบุคลากร 2. ปัญหาด้านเวลา 3. ปัญหาด้านกิจกรรม จากการวิเคราะห์ผลที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำกระบวนการพัฒนาศักยภาพจิตอาสานำธรรมะสู่ผู้ป่วยตามแนววิถีพุทธ สามารถสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วย เป็นการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการนำเอาปัจจัยและแหล่งประโยชน์ที่เป็นบุคคล ชุมชน มามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยเป็นการดูแลที่ซับซ้อน เป็นการใช้แหล่งประโยชน์ในชุมชน โดยการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อันเกิดจากการสร้างคนในชุมชนของตนเอง ให้มีความรู้ เกิดความตระหนัก มีทัศนคติที่ดี มีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพื่อจัดระบบการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งยังสร้างเครือข่าย เกิดการประสานงาน ส่งต่อข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง
The research on a study of the value of stucco art within temples of Lampang people has the following objectives; 1) to study the perception of the value of stucco art within temples of Lampang people, and 2) to study the creating value and cultural values of stucco arts within temples of Lampang residents. This research is a Qualitative Research using structured interview. The results found that the stucco art has expressed the ability and wisdom of the creator by using self’s wisdom or ancestral succession and inserting their creative ideas as well as faith and the doctrine of Buddhism both in Dhamma puzzle or strange shape’s form, and most of the stories have Buddhist beliefs as well. The stucco artwork reflects the religious values and animal pictures which molding it together with angels such as Giant, Shiva, Indra, Brahma, Vishnu, and novels’ animals in Himmapan Forest. The cultural value creation of stucco art can be summarized in six areas as following; Fine arts, Painting, Sculpture, Architecture, Literature, and culture. The cultural value creation of stucco art which caused the value or price of the stucco creation is determined by the set of values in three areas as following; Tourism promotion, Monetization, and Training.
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.