การศึกษาคุณค่าของศิลปะปูนปั้นภายในวัดตามการรับรู้ของคน ในจังหวัดลำปาง A study of the value of stucco art within temples as perceived by Lampang people

Phrakru sangkaraksuphanut Phuriwattano Prapissanupol suwanarupo

Abstract


การวิจัยเรื่องการศึกษาคุณค่าของศิลปะปูนปั้นภายในวัดตามการรับรู้ของคนในจังหวัดลำปาง            มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าของศิลปะปูนปั้นภายในวัดของประชาชนจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาแนวการสร้างคุณค่าและมูลค่าทางวัฒนธรรมของศิลปะปูนปั้นภายในวัดของประชาชนจังหวัดลำปาง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure Interview) ผลการวิจัย พบว่า ศิลปะปูนปั้นแสดงถึงออกถึงความสามารถและภูมิปัญญาของผู้สร้าง โดยใช้ภูมิปัญญาที่ตนเองหรือบรรพบุรุษสืบต่อกันมา นำมาสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนความเชื่อ และหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ทั้งในส่วนของรูปปริศนาธรรม หรือรูปทรงแปลกๆ เรื่องราวต่างๆ โดยส่วนใหญ่มีคติความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา การสร้างสรรค์งานศิลปะปูนปั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าทางด้านศาสนา และภาพสัตว์ต่างๆ ที่นำมาปั้นประกอบกับเทวดา เช่น ยักษ์ พระอิศวร พระอินทร์ พระพรหม พระนารายณ์ สัตว์ในนวนิยายในป่าหิมพานต์ การสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมของศิลปะปูนปั้น สามารถสรุปได้ 6 ด้านด้วยกัน คือ ด้านศิลปกรรม ด้านจิตรกรรม ด้านประติมากรรม ด้านสถาปัตยกรรม ด้านวรรณกรรม และด้านวัฒนธรรม การสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรม ของศิลปะปูนปั้น อันก่อให้เกิดเป็นมูลค่าหรือราคาในการสร้างสรรค์งานปูนปั้น โดยได้กำหนดแนวทางในการสร้างมูลค่าไว้ 3 ด้าน ดังนี้ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างรายได้ การฝึกอบรม 

The research on a study of the value of stucco art within temples of Lampang people has the following objectives; 1) to study the perception of the value of stucco art within temples of Lampang people, and 2) to study the creating value and cultural values of stucco arts within temples of Lampang residents. This research is a Qualitative Research using structured interview. The results found that the stucco art has expressed the ability and wisdom of the creator by using self’s wisdom or ancestral succession and inserting their creative ideas as well as faith and the doctrine of Buddhism both in Dhamma puzzle or strange shape’s form, and most of the stories have Buddhist beliefs as well. The stucco artwork reflects the religious values and animal pictures which molding it together with angels such as Giant, Shiva, Indra, Brahma, Vishnu, and novels’ animals in Himmapan Forest. The cultural value creation of stucco art can be summarized in six areas as following; Fine arts, Painting, Sculpture, Architecture, Literature, and culture. The cultural value creation of stucco art which caused the value or price of the stucco creation is determined by the set of values in three areas as following; Tourism promotion, Monetization, and Training.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.