พฤติกรรมจิตสาธารณะ เด็กไทยยุค Generation Z: การสร้างจิตสาธารณะตามแนวพระพุทธศาสนา THAI TEENAGERS’S PUBLIC MINDS IN THEIR Z GENERATION ENHANCING BUDDHISM-BASED PUBLIC MINDS

Phramaha Phanuwat , Silawat , Phraatik Patibhannamethee , Chaiwong,Chantasaro, Dr.

Abstract


       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมจิตสาธารณะในเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมจิตสาธารณะในเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อสร้างรูปแบบจิตสาธารณะของเด็กยุค Generation Zตามแนวพระพุทธศาสนาโดยดำเนินการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษาลักษณะมูลเหตุและองค์ประกอบการก่อให้เกิดพฤติกรรมจิตสาธารณะเด็กไทยยุค Generation Z: การสร้างจิตสาธารณะตามแนวพระพุทธศาสนาจากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นกลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนเยาวชน Generation Z ในจังหวัดเขตภาคเหนือ

              ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมจิตสาธารณะในเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าได้รับการปลูกฝังเรื่องพฤติกรรมจิตสาธารณะตั้งแต่เรียน ม.ต้น คุณครูเป็นผู้ปลูกฝังเรื่องการมีจิตสาธารณะในการช่วยเหลืองานโรงเรียน และรู้จักการสละเวลามาทำงานเพื่อส่วนรวม ในขณะที่ทางครอบครัวจะปลูกฝังให้ช่วยเหลือคนอื่น ช่วยงานบ้าน ช่วยดูแลน้องๆ ทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบ สอนให้มีน้ำใจ ถ้ามีโอกาสก็ช่วยเหลือคนอื่น

              2. แรงจูงหรือปัจจัยที่จะทำให้นักเรียน นักศึกษาแสดงพฤติกรรมในลักษณะพฤติกรรมจิตสาธารณะ มีการทุ่มเทและอุทิศตน มีความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล อันจะก่อให้เกิดคุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะพบว่าเกิดการปลูกฝังจากครอบครัวและการดำเนินชีวิตตามตัวอย่างที่ดี

              3.สำหรับรูปแบบจิตสาธารณะของเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าควรสร้างการมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เกิดจากความรู้สึกนึกคิดในจิตใจรวมถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีที่มีอยู่ในพื้นฐานของจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงออกมาภายนอกปรากฏเป็นรูปธรรมที่เด่นชัดผ่านการกระทำของบุคคล ซึ่งการแสดงออกของบุคคลที่มีจิตสาธารณะจะมีลักษณะสำคัญ คือเป็นบุคคลที่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ทั้งมีความรับผิดชอบในส่วนของตน ไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับผู้อื่น เช่น การไม่เอาเปรียบผู้อื่น การไม่ประพฤติคดโกงและมีการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้เกิดในสังคมและการไม่ทำลายสังคมไม่ว่าทางใดก็แล้วแต่ เช่น รักษากฎระเบียบที่ดีงาม อยู่ภายใต้ระเบียบวินัย ช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังและความสามารถของตนเอง    

      The purposes of this study were: 1) to investigate the Thai teenagers’ Buddhism-based public minds in their Z generation, 2) to analyze the Thai teenagers’ behaviors on Buddhism-based public minds in their Z generation, as well as 3) to create the model designed for the Thai teenagers’ behaviors on Buddhism-based public minds in their Z generation. It was the qualitative research that focused on how were the causes and factors influencing the Thai teenagers’ behaviors on their Buddhism-based public minds scrutinized. For research methodology, youth representatives living in Northern provinces used as key informants were carried out for data collection. The findings of the study were detailed as follows:   

              1. In terms of the Thai teenagers’ behaviors on their Buddhism-based public minds in the Z generation, it showed that the Thai teenagers’ behaviors on their public minds were encouraged when studying in the lower secondary education level took places. In addition, the Thai teenagers’ awareness of their public minds on not only helping their teachers’ school works, but also devoting for their public activities was mostly found; moreover, the Thai teenagers’ awareness of helping other neighbors, doing their housework, as well as looking after their younger brothers or sisters was supported. Also, the Thai teenagers’ self-responsibilities, kindness, and public minds were all educated by their parents;   

                   2. In terms of the Thai teenagers’ internal motivations or factors affecting their public minds, it was stated that their devotion, self-social responsibilities, and interpersonal respects were all resulted from their family’s behavioral cultivation and well-mannered characteristics, and

              3. In terms of the typical model for the Thai teenagers’ Buddhism-based public minds in their Z generation, it was suggested that the provision for the enhancement of the Thai teenagers’ mental awareness and moralities be required for their public minds and self-responsibilities. Moreover, the Thai teenagers’ no troubles such as their no selfishness, no corruption, and sympathy, etc. should be all supported for their social creativities, well-mannered disciplines, as well as charities.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.