คุณค่าทางสังคมผ่านจิตรกรรมฝาผนังพระอารามหลวงในจังหวัดลำปาง THE VALUE SOCIAL FOR MURAL PAINTING THE ROYAL TEMPLE IN LAMPANG PROVINCE

Kanokrachata, Teerawat , Anitta Kaosiri , Kaewlangka , Hanphakdeeniyom

Abstract


      วิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าทางสังคมผ่านจิตรกรรมฝาผนังพระอารามหลวงในจังหวัดลำปางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตรกรรมฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปาง คุณค่าทางสังคมสำคัญผ่านจิตรกรรมฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปางและวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏผ่านจิตรกรรมฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นการศึกษาค้นคว้าคัมภีร์พระพุทธศาสนา และทางสังคมศาสตร์ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key  Informants) เป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา และมีความเชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์ ผู้วิจัยได้เรียบเรียงในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ พบว่า จิตรกรรม ฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปางโดยเฉพาะวักบุญวาทย์วิหาร เกี่ยวกับพุทธประวัติ พระเวสสันดรชาดก รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น เช่นเดียวกับภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งเผยแพร่เกี่ยวกับพระเวสสันดร รวมถึงภาพนรกและสวรรค์ กฎแห่งกรรมที่เกิดขึ้นเป็นสัจธรรมของมนุษย์ รวมถึงภาพจิตรกรรมวัดเจดีย์ซาวหลวง ที่กล่าวถึงตำนานวัดเจดีย์ซาว เรื่องราวภาพพระอรหันต์ 2 องค์ มอบเกศาธาตุให้แก่พระยา   มิลินทร์ ในการเป็นสถานที่บำเพ็ญสมณะธรรม และวัดจองคำซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่มีเอกลักษณ์ มีความเก่าแก่มีพุทธศิลป์ที่เด่นชัด คือ วิหารสีทอง (พระวิหารชัยภูมิ) มีซุ้มประตูสีทองสลักลวดลายสวยงาม สถาปัตยกรรมวัดวาอารามไม่ว่าจะเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังหรือแม้แต่โบสถ์ วิหาร ศิลปะต่างๆ ที่สร้างขึ้นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงประเพณี คติความเชื่อและเอกลักษณ์ของชาติไทย การออกแบบอย่างวิจิตรงดงามก็เพื่อเป็นการเชิดชูพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดวิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรมประเพณี และหลักธรรมต่างๆ เช่น อริยสัจ 4, การให้ทาน, หลักทิศทั้ง 6, อิทธิบาท 4 เป็นต้น ทำให้ผู้พบเห็นมีความศรัทธาที่จะบำเพ็ญบารมีใส่ใจในกุศลความดีต่าง ๆ ดำเนินวิถีชีวิตโดยการ เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ปราศจากอกุศล ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนานั่นเอง

       The purpose of this study, entitled “Social Values through Royal Temples’ Mural Paintings in Lampang Province”, aimed to explore the royal temples’ mural paintings in Lampang province. This research was based on the qualitative research, focusing on the Buddhist scriptures and social sciences. For research methodology, an in-depth interview was conducted with key informants used in this study. The data were resented with the descriptive technique.

 

              The results of this study revealed that like Wat Phra Kaew Don Tao, the Buddhist Murals related to the Boonyawatvihara Temple were described for Buddhist interpretation concerning Buddhist histories and Jatakas such as Vessantara as same as the murals in which was published about Vessantara’ s images of hell and heaven. Furthermore, two saints from Wat Phra Chedi Sao Lang gave their soul to the prince Milind. In order to be a place used for religious practices, Wat Chong Kham temple was considered a unique monastery covered with prominent Buddhist arts found in a golden temple. There were beautiful arches, churches, chapels, and temples, and its artwork was resulted in the reflection of traditions and beliefs. Also, the magnificent design was needed to glorify Buddhism, as well as their community lifestyle, culture, and tradition  And principles The Four Noble Truths, giving alms, Four Rddhippada It creates belief and practice in charitable good deeds as refraining from evil, doing good deeds, and to makes the purification mind.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.