แรงจูงใจในการทำงานและความพึงพอใจในงานที่มีต่อประสิทธิผล การปฏิบัติงานของลูกจ้างธนาคารออมสิน ในจังหวัดลำปาง THE MOTIVATIONAL AND JOB SATISFACTION TOWARDS AN OPERATIONAL SRAFF EFFECTIVENESS OF GOVERNMENT SAVING BANK BRANCH IN LAMPANG

Poranee ,Thanakorn Jaiwong ,Sirisugandha

Abstract


    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงานและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความพึงพอใจในงานที่มีต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างธนาคารออมสิน ในจังหวัดลำปาง ประชากร คือ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวของธนาคารออมสินในจังหวัดลำปางทั้ง 15 สาขา จำนวนทั้งหมด 105 คน เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ เครื่องมือในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนาวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติอนุมานเพื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วยเทคนิคการถดถอย โดยวิธี Enter Selection

              ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการทำงานและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของลูกจ้างธนาคารออมสิน จังหวัดลำปาง โดยรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงตามจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านอัตราค่าตอบแทนด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานด้านประสิทธิผลในการทำงานด้านความก้าวหน้าด้านการบังคับบัญชาด้านนโยบายด้านความสำเร็จของงานด้านลักษณะของงานด้านความรับผิดชอบและด้านการยอมรับนับถือ ตามลำดับผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ พบว่า แรงจูงใจในการทำงานและความพึงพอใจในงานมีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของลูกจ้างธนาคารออมสิน จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

    Based on the survey research, the purposes of this independent study aimed to investigate the non-permanent Government Saving Bank staff’s motivation and job satisfactions towards their effectiveness of working performance in Lampang province, as well as the correlations of their motivation and job satisfactions. For data collection, a questionnaire was conducted with 105 permanent and non-permanent staff out of the 15 branches of Government Saving Bank in Lampang province. The data were statistically analyzed using frequency distribution, percentage, standard deviation, and multiple regression analysis.

              The findings of the study revealed that the correlations of the Government Saving Bank staff’s motivation and job satisfaction were all rated at a higher level in terms of their monthly income, followed by their organizational relations, their effectiveness of working performance, their professional progression, their commanding, their bank policies, their job success, their job description, their self-responsibilities, and their social acceptation. On the other hands, the permanent and non-permanent Government Saving Bank staff’s  motivation and job satisfactions, with the significant difference of 0.05, directly affected their working performance in Lampang province.

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.