การเปรียบเทียบการจัดการการศึกษาของพระสงฆ์ในเชียงตุง (พม่า) กับคณะสงฆ์ประเทศไทย COMPARISON EDUCATION MANAGEMENT OF MONKS IN KENGTUNG (MYANMAR) WITH MONKS IN THAILAND

Pramaha Nigorn , Anuwat Thanottaro, Krasang

Abstract


   ปัจจุบันการศึกษาของคณะสงฆ์เมืองเชียงตุงเริ่มต้นจากการเรียนการสอนที่มีอยู่สองลักษณะคือ การเรียนในระดับโรงเรียนที่รัฐบาลพม่าจัดให้ คือ “ระบบต่าน” หรือชั้นการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่ 1-10 เป็นลักษณะการศึกษาภาคบังคับของรัฐบาล แต่ไม่บังคับประชาชนให้เรียนด้วยประกอบกับคนกลุ่มไทไม่นิยมเรียนเพราะการเรียนในระบบการศึกษาดังกล่าวใช้ภาษาพม่าในการเรียนการสอน ซึ่งในโรงเรียนดังกล่าวมีการสอนวิชาภาพม่าซึ่งมีหลักสูตรมาจากส่วนการศึกษากลางของพม่า แต่การเรียนในลักษณะดังกล่าว สถานะความเป็นพระสงฆ์สามารถเรียนได้ถึงแค่ต่าน 5 เทียบเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของระบบการศึกษาในประเทศไทย ในลักษณะที่สองเป็นการเรียนการสอนระดับชั้นนักธรรมนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา โดยมีสำนักเรียนใหญ่อยู่ที่วัดราชฐานหลวงหัวข่วง เมืองเชียงตุง ถึงแม้จะมีการจัดระบบการศึกษาดูเหมือนจะมีระบบก็ตามที ด้วยการศึกษาของเมืองเชียงตุงหรือพม่ามิได้ระบุชัดเจนถึงนโยบายของการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดให้ประชาชนหรือพระสงฆ์ได้เล่าเรียนแค่ไหนอย่างไร จึงทำให้สังคมมองพม่าหรือเชียงตุงว่า “เป็นระบบการศึกษาอิสระ”สามารถเรียนก็ได้ ไม่เรียนก็ได้ ผลสัมฤทธิ์ก็คือวุฒิการศึกษาในพม่านั้นไม่สามารถทำให้ผลใดๆทั้งสิ้นกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตได้

              การเปรียบเทียบการศึกษาของคณะสงฆ์เชียงตุงและคณะสงฆ์ไทยก็มีความคล้ายคลึงเกี่ยวเนื่องกันพอสมควร แต่เพียงแค่เชียงตุงยังขาดบุคลากรและงบประมาณในการจัดการเรียนการศึกษาด้วยประเทศมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์มากมายจากรัฐบาลทหารที่อาจทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่หากมีการพัฒนาและมีการช่วยเหลือจากพระสงฆ์ไทยหวังว่าคงต้องมีความเจริญและมั่นคงได้แน่ แนวโน้มของการพัฒนาการศึกษาในอนาคตจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนโดยมีประเทศไทยหรือคณะสงฆ์ไทยเป็นผู้สนับสนุนทำให้เกิดองค์ความรู้และดำรงพระพุทธศาสนาได้อย่างมั่น

    At present, the education of the monks in Chiang Tung started with two types of teaching. School-based education provided by the Burmese government is a "peer-to-peer" system, or a grade from 1-10 is compulsory. But do not force people to study with the Tai group is not popular because learning in the education system uses Burmese language in teaching. These schools teach Burmese courses, which are based on the Burmese middle school. As such learning, monk status could only be learned in 5 equivalent to the third year of education in Thailand. The second type of teaching was a class of noblemen since 1948 onwards, with the principal class at the temple in Chiangmai town, meanwhile the educational system seemed to have some kinds of system. The study of Chiang Tung or Burma did not clearly state the policies of compulsory education given to the people or monks. The societies at Burma or Chiang Tung were based on "the independent education system". Nevertheless, educational qualifications in Myanmar could not be guaranteed with their career.

 

                   Also, the comparative study of Chiang Kung with the Thai Buddhist clergy was quite similar. Just in Chiang Tung, no numbers of staff recruitment and budgets supported for their effective educational management were mostly found; moreover, the country had many military regulations that could make it difficult, and it was developed and supported by the Thai monks. It was hoped that it would be prosperous and stable. The development of the future educational management would take actions in Thailand or the Thai Buddhist Sangha, who had their knowledge and firmness of Buddhism


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.