รูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย A MODEL FOR SOLVING MONKS’ THAI FAITH CRISES BASED ON THE BUDDHIST DISCIPLINES (TRIPITAKA)

Paradee Poonprapa Eiemcharoen

Abstract


      การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย” ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่าง วิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ของพุทธศาสนิกชนไทย 2. เพื่อศึกษาหลักพระวินัยและกฎมหาเถรสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ และ 3. ศึกษาและเสนอรูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย

จากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัยไว้เบื้องต้น จากการศึกษาพระวินัยปิฎก แล้วพบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 12 มีใจความสำคัญว่า “ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส” จึงเห็นว่า สามารถนำมาเป็นแบบแผนการลงโทษพระภิกษุผู้กระทำผิดพระวินัยแล้วไม่สำนึกผิดได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ เมื่อพุทธศาสนิกชนพบเห็นพระภิกษุรูปใดประพฤติผิดพระวินัยสิกขาบทใดๆ ก็ตาม หรือประพฤติอนาจารไม่เหมาะสมกับสมณเพศ ให้แจ้งไปที่วัดต้นสังกัดของพระภิกษุผู้ประพฤติผิดพระวินัยนั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นจะต้องสืบหาข้อเท็จจริง หาก พบว่า เป็นความจริงตามที่มีผู้แจ้งมา ควรเรียกพระภิกษุผู้ประพฤติผิดพระวินัยนั้นมาพบ แล้วว่ากล่าวตักเตือนให้กลับตนมั่นคงในศีลของพระ หากท่านกลับตนได้ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา แต่ถ้าท่านยัง ประพฤติผิดซ้ำซาก ไม่ฟังคำตักเตือน เจ้าอาวาสก็ควรดำเนินการประชุมสงฆ์ในอุโบสถ ให้ภิกษุรูปหนึ่งผู้ฉลาดและสามารถ สวดสมนุภาสนา โดยทำเป็นจตุตถกรรมวาจา คือ สวดญัตติหนึ่งครั้ง และสวด สมนุภาสนาสามครั้ง เมื่อสงฆ์สวดประกาศสมนุภาสนาจบครั้งที่สาม ภิกษุผู้ว่ายากสอนยากนั้นต้องอาบัติสังฆาทิเสสเพิ่มขึ้นอีก และจะต้องถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมตามพระวินัย  

    Based on the mixed methods (both qualitative and quantitative researches), the purposes of this study, entitled “A Model for Solving Monks’ Thai Faith Crises Based on the Buddhist Disciplines (Tripitaka)”, aimed to investigate factors on monks’ Thai faith crises influencing Thai Buddhists’ attitudes, the Buddhist orders (Vinaya) and laws of Mahathera Council related to solve Thai monks’ faith crises, as well as guidelines for solving Thai monks’ faith crises based on the Buddhist disciplines (Tripitaka). The questionnaire related to restraint in accordance with the monastic disciplinary code, the purity of conduct as regards livelihood, pure conducts as regards the necessities of life, restraints in accordance with the monastic disciplinary code, and restraints of the senses or sense-control was all carried out for data analysis.           

 The findings of study revealed that according to the chapter 12 on Sanghadisesas with the statement “Monks were not allowed to listen other monks’ praying on karma and did not follow its nevertheless, they finally behaved the worst conducts concerning Sanghadisesas.” it was viewed that this rule could be forced for the monks’ worse conducts. In addition, when Buddhists saw any monks who misbehaved with any Vinaya or obscenity, those monks’ worse conducts were informed to their abbot being responsible for probing their monks’ explicit guilt. It was, however, true that misbehaved monks would be warned for their stricter precepts whereas their bad conducts were not only blamed by abbots, but the syndicate discussion on monk’s bad conducts held at a temple should be also called for punishment purposes. When the clever monks have prayed the Buddha doctrine for motion at the meeting and three times for the Somnupasana doctrine so-called “four verbal declarations”, the misbehaved monks transgressed more their precepts were finally punished for the formal act of suspension (ùk-kàyp-nee-yá-gam).


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.