มาตรการเพิ่มศักยภาพของการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ในเขตชุมชนประมงจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก: กรณีศึกษา อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด CAPACITY BUILDING MEASEURES FOR IMMIGRATION WORKER MANAGEMENT IN FISHING COMMUNITY OF EA

Jutinan ,Ussavin Kwuannate ,Kaewpitak

Abstract


      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของแรงงานข้ามชาติเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลไกภาครัฐ เอกชนและชุมชน รวมถึงแนวทางเพิ่มศักยภาพในการบริหารแรงงานข้ามชาติในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก จะใช้วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยสำรวจในเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งเอกสารและสัมภาษณ์ ข้อค้นพบจากการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แรงงานข้ามชาติในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและสาธารณสุข ส่วนการศึกษาบทบาท กลไกเดิมทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนโดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างบทบาทที่เป็นอุดมคติในกฎหมาย (ideal role) กับบทบาทที่ปฏิบัติจริง (actual role) ก็จะพบว่า โรงพยาบาลของรัฐและผู้ประกอบการประมงในชุมชน มีบทบาทสอดคล้องต้องกันระหว่างสองบทบาท (commensurating role) ส่วนสมาคมประมงเอกชน และกองบังคับการตำรวจน้ำ พบว่า  บทบาทในอุดมคติตามกฎหมายนั้นขัดแย้งกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง (conflicting role) และข้อค้นพบเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ แรงงานข้ามชาตินั้น ควรมี 10 แนวทางด้วยกัน คือ ควรจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นงานประจำทั้งปี ควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมในราคาที่เป็นธรรมในการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ เพิ่มบทลงโทษสถานหนักต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าแรงงานเถื่อน จัดทำศูนย์แรงงานข้ามชาติ ควรตั้งศูนย์รับเรื่องแรงงานร้องทุกข์ในชุมชนที่มีการจ้างแรงงาน เพิ่มบทลงโทษแก่บุคคลที่นำพาหรือผู้ให้ที่พักพิงแก่แรงงานข้ามชาติที่ลักลอบทำงานผิดกฎหมาย แยกการบริหารจัดการด้านสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติออกจากพระราชบัญญัติประกันสังคม มีรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสซึ่งนำไปสู่การนำจับนายหน้าค้าแรงงานเถื่อน ควรเพิ่มการตรวจสอบและขยายผลการจับกุมขบวนการค้าแรงงานเถื่อนและให้แรงงานข้ามชาติจ่ายเงินประกันตนเองเพื่อป้องกันการเปลี่ยนงานบ่อย

  The purposes of this research were to study the impacts of migrant workers before and after the ASEAN Community participation, government mechanism, private and community sectors. The guidelines for the potential increase in migrant labor administration in the Eastern Coastal Provinces. The mixed method approaches of quantitative and qualitative research were employed in this study. Documentary research and interview as the qualitative research methodology were used. The research findings revealed that the comparative results before and after the participation of the ASEAN Community reflected different effects in terms of economics, social aspects, politics and government, as well as, public health. Pregovernment mechanism private and community sectors were studied by comparing between the ideal roles and actual roles. The research found that public hospitals and fishery entrepreneurs showed their commensurating roles. The ideal and actual roles based on the laws showed the conflicting roles between Fisheries Association and Marine Police Division. The result of potential increase in migrant labor administration was consisted of 10 guidelines: annual migrant worker registration, fair registration fees, heavy legal punishment for government officers who were involved in labor trafficking, the establishment of migrant worker centers, the centers of complaints in the communities with migrant worker employment, heavy legal punishment for people providing shelters for the migrant workers with the illegal work, separation of benefit management and migrant labor protection from Social Security Act, rewarding for whistle-blowers leading to the arresting of illegal labor brokers, double-inspection and result extension of labor trafficking process, and paying of social security contribution made by the migrant workers to prevent them from frequent job mobility.       


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.