พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น LAY STUDENTS’ HEALTH BEHAVIOR OF MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY ISAN CAMPUS MUANG DISTRICT, KHONKAEN PROVINCE

Worathep Wiangkae

Abstract


      การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยในกับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยนอกกับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ให้ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคฤหัสถ์ 250 คน  และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน

ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับพฤติกรรมสุขภาพนักศึกษาคฤหัสถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ ดังนี้ การพัฒนาทางจิตวิญญาณ (=3.93) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (=3.91) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (=3.86) โภชนาการ (=3.81) การทำกิจกรรมทางกาย (= 3.79) การจัดการความเครียด (=3.87) พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการความเครียด ข้อที่ว่า กินยาระงับประสาท หรือยานอนหลับ นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่า มีนักศึกษาบางส่วนอาจจะทานยานอนหลับบ้างเวลาเครียด

2. นักศึกษาคฤหัสถ์มีปัจจัยภายในแตกต่างกันมีพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาคฤหัสถ์มีปัจจัยภายนอกแตกต่างกันมีพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยภายในทุกปัจจัยและปัจจัยภายนอกทุกปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            3. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 1) ควรออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ 2) ทานอาหารที่มีประโยชน์และให้ครบ 5 หมู่ 3) พักผ่อนให้เพียงพอ 4) สร้างระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตอย่างมีระบบ ทั้งการกิน ดื่ม ตื่น นอน กิจกรรมต่างๆ 5) ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิสม่ำเสมอ

                4. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรแต่งตั้งกรรมการและมอบนโยบายให้นำไปสู่แผน โครงการ โดยให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การปฏิบัติธรรมเพื่อสุขภาพ การบริโภคเพื่อสุขภาพ หรือการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและมีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นช่วงๆ และควรประกาศเกียรติคุณผู้ที่ดำเนินงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์และเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ

   

The objectives of this research were: 1. to study the level of lay students’ health behavior, 2. to study the differences of internal factors affecting the lay students’ health behavior, 3. to study the differences of external factors affecting the lay students’ health behavior and 4.to suggest the way for promoting the better students’ health behavior by the use of questionnaires. All /250 subjects under stratified random sampling were participated in this study Then data was analyzed and processed by computer for percentage, mean, standard deviation and one-way ANOVA.

The results were found that: 1. The overall level of lay students’ health behavior was high. The mean of each section from high to low was spiritual development (= 3.93), health responsibility (= 3.91), interpersonal relationship (= 3.86), nutrition (= 3.81), physical activity practicing (= 3.79) and stress management (= 3.78) respectively. On stress management section, the lay students’ opinion was moderate for the question taking sedative or sleeping pill, it was shown that sometime facing the stress they took some sedative or sleeping pill for relieving it.

            2. Under the differences of internal and external factors, the lay students’ health behavior was different at a significance 0.05 level. It was shown that both internal and external factors affecting the health behavior at significance 0.05 level

            3. The way for promoting the health behavior 1) They should exercise properly and consistently, 2) They should eat useful food and all 5 groups, 3) They should take rest sufficiently, 4) They should have systematic life under the procedure such as eating, drinking, getting up, sleeping and other activities. 5) They should practice Dharma and meditation regularly.

4. For suggestions: The government should set the committee and policy for leading to make plan and project, every party must join to hold activities such as practicing in Dharma, consumption and exercise for health, assessing every activities intermittently. The successful activities should be honored and propagated publicly.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.