พฤติกรรมการใช้สื่อของเด็กยุคศตวรรษที่ 21
Abstract
บทคัดย่อ
สื่อมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและค่านิยมของคนทุกเพศวัยการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อแบบภาคตัดขวางในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองอุ่มหวายสามัคคี อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคามจำนวน 60 คน เดือนมิถุนายน 2560 พบว่า 53%เป็นชายส่วนใหญ่ครอบครัวมีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง อาศัยอยู่กับบิดามารดาได้รับค่าใช้จ่ายเป็นค่าขนมเฉลี่ยวันละ 30 บาทด้านพฤติกรรมการใช้สื่อพบว่า 65%ใช้เวลาว่างในการเล่นเกมส์ เฟสบุค ดูโทรทัศน์และช่วยพ่อแม่ทำงานเพียง 25 % เกือบครึ่งไม่ชอบอ่านหนังสือ ถ้าอ่านจะเป็นหนังสือการ์ตูนและรับรู้ว่าเกือบทุกครอบครัวมีโทรศัพท์มือถืออย่างน้อย1 เครื่อง78%มีและใช้ในช่วงเช้าหรือก่อนนอน30% ใช้ขณะรับประทานอาหาร ทำการบ้านครึ่งหนึ่งใช้วันละไม่เกิน 3 ชั่วโมง31%ใช้ 3-5 ชม./วันแต่ใช้ค้นงานหรือโทรไม่ถึง10% ส่วนการใช้อินเตอร์เนต เกือบทั้งหมดใช้ในการเล่นเกมส์แชทดูหนังฟังเพลงมี 6%ใช้ดูภาพโป๊90%ยอมรับว่าติดเกมส์ เมื่อประเมินทัศนคติพบว่า 83% มีทัศนคติเชิงบวกระดับปานกลาง ส่วนทักษะในการใช้สื่อพบว่า 63%ไม่ทราบว่ารหัสอีเมล์ต้องเก็บเป็นความลับ กว่า 80% สามารถค้นหาศัพท์ภาษาอังกฤษได้ ส่วนข้อมูลด้านสุขภาพ สนใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ความงามและการลดน้ำหนักและข้อมูลในเฟสบุคเชื่อว่าจริง 50%และมีอิทธิพลต่อคนทุกเพศวัยมากถึงมากที่สุด (61%) โดยมีผลดีกับผลเสียพอๆกัน(40%)42%สามารถวิเคราะห์สื่อได้ระดับปานกลางเมื่อสมมติสถานการณ์เพื่อประเมินการตัดสินใจในการอ่าน/แชร์ พบว่า หากเป็นข่าวที่ไม่น่าเป็นไปได้ จะไม่สนใจและปิดเว็บนั้น แต่ถ้าคนแปลกหน้าคนไทยขอเป็นเพื่อน 73%จะกลัวและปฏิเสธ ถ้าเป็นชาวต่างชาติ จะเข้าไปค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ และถ้านัดออกมาพบหรือไปดูหนัง ทานข้าว เกือบทั้งหมดไม่ออกมาพบ โดยมีทั้งปฏิเสธทันที (68%)แต่ 20%ลังเลและถามรายละเอียดและผัดผ่อนไปก่อน ด้านสื่อโฆษณาอาหารเสริม ความงาม แม้ว่า 50%จะไม่เชื่อ แต่มีการค้นหาข้อมูลและแชร์ให้เพื่อนดู
ดังนั้นแม้บริบทของพื้นที่ศึกษาอยู่ชานเมือง แต่มีการเข้าถึงสื่อทุกแห่ง แม้จะสามารถค้นหา/ใช้เป็นและยังกลัวไม่ไว้ใจคนแปลกหน้า แต่ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า สนใจอ่าน คุยและแชร์ให้เพื่อน โดยไม่ปรึกษาครู ผู้ปกครอง จึงมีโอกาสที่จะหลงเชื่อและถูกภัยสังคมหลอกให้พบ/ขายสินค้าอันตรายได้ ดังนั้นโรงเรียนและชุมชนควรมีการเฝ้าระวังและจัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตให้เด็กตั้งแต่เด็กอนุบาลเพื่อให้มีการใช้อย่างพอเพียงมากที่สุด
คำสำคัญ:พฤติกรรมการใช้สื่อ ,สื่อ,ทักษะชีวิต,วัยรุ่น,เด็กยุคศตวรรษที่ 21
ABSTRACT
Media influences the way of life and values of all ages people. This study of cross-media, media behavior in upper and lower elementary and junior secondary high school students, Ban Nong Um WaiSamakkhi School, Kantharawichai District, Mahasarakham Province, the number of 60 students in June,2017. The results revealed that most of 53% were boys, that live with their parents. Most of them work as farmer and employee. They give average a day 30 baht as pocket money for their children. In terms of media usage, 65% spent time playing games, watching TV, and helping their parents work 25%. Nearly half did not like to read, but if they read it they read comic books, recognized that almost every family had at least one mobile phone. 78% had and used in the morning or before bedtime. 30% used while eating, do homework. Half of them use no more than 3 hours a day, 31% used 3-5 hours/day, but less than 10% used to work, search or call. Almost of them used to play games, movies, music. 6% used to see the porn image. 90 % of them admitted that they were addicted to the game on the internet. When attitudes were assessed 83% had a positive attitude toward the medium. 63% of respondents did not know that their email IDs were confidential. About health information, interested in health promotion,beauty and weight loss. 50% believed in a web’s information and it had the highest level of influence on people of all ages (61%) with both good and bad effects (40%). 42% of them have moderate ability in media analysis. When assuming situation to evaluate decision to read / share, the result found that they did not care the news was unbelievable and closed the web. 73% were afraid and rejected Thai stranger who asked for a friend and searched the information before deciding to add a foreigner as their friend. 68% declined immediately when they were invited to a movie or eat outside, but 20% were hesitant. Advertising, beauty products, although 50% did not believe it, they would search and share it with their friends.
So, despite the context of the study area was the suburbs, but with access to all media, the students were able to use the online media to search and use the media fairly well. But qualitative information indicated that they interested to read, talked and shared with friends by not consulting teachers nor parents. There was a chance that they would be fooled and the villain was tricked into finding/selling dangerous goods. Schools and communities should be supervised and provided with life skills for children from kindergarten to ensure that they are sufficiently for the most adequate used.
Keywords: Social Mediausing Behavior, Social Media, Social Mediausing skill, Youth, Child in 21st Centuries
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.