รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน

พระ มหาไกรสร โชติปญฺโญ

Abstract


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดลำพูน  ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารูปแบบเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน และวัตถุประสงค์รอง 2 ประการ คือ 1) เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาภายใต้การขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดลำพูน 2) เพื่อพัฒนาบทบาทของคณะสงฆ์ในการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน โดยศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  research) เพื่อการเชื่อมโยงความรู้ บุคลากร การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมโดยศึกษาภาคสนามจากการลงมือปฏิบัติการขับเคลื่อนกิจกรรม ภายใต้โครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ซึ่งมีรูปแบบการถอดชุดความรู้ลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย ร่วมกับพระสงฆ์ เจ้าคณะพระสังฆาธิการ พระนักพัฒนา นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา แกนนำชุมชน องค์กร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มีกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการกับเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ในสังคม

            ผลการศึกษาวิจัยพบว่า  การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการของคณะสงฆ์และภาคีเครือข่ายจังหวัดลำพูน ในการขับเคลื่อนด้านสุขภาวะเพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบและปัจจัยที่ทำให้เกิดแนวทางการพัฒนา โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน เป็นศูนย์ประสานงานการดำเนินงาน อาศัยเครือข่ายต่างๆ ที่พระสงฆ์นักพัฒนาจังหวัดลำพูนได้ร่วมมือการขับเคลื่อนด้านสุขภาวะ และได้ชมชนต้นแบบแต่ละอำเภอ ในการเป็นตัวอย่างและสร้างเครือข่ายแต่ละชุมชน ซึ่งได้บูรณาการกับนโยบายจังหวัดลำพูน  และนโยบายของคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนงาน 5 ยุทธศาสตร์  ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาพระสงฆ์นักพัฒนายุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างศาสนทายาทแกนนำพระสงฆ์นักพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 3การสร้างเครือข่ายเสริมสร้างสุขภาวะ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การวิจัยพัฒนาและติดตามประเมินผลเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูนให้เข้มแข็งต่อไป

 คำสำคัญ:สุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา, ศีล 5, การมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการ

 

ABSTRACT

This research ‘The Natural Resource Conservation by the Buddhist Integrated Approach: Case Study on the Traditional White Elephant Parade in the Li River Basin, Lamphun Province’ aims to study the process of conserving the natural resources of the Buddhists in Li Basin’s area, to investigate the restoration process of Traditional White Elephant Parade and to explore the network strengthening for the natural resources conservation in the Li Basin’s area by the Buddhist integrated approach. The research was conducted by the qualitative research method with the field data and presented by the descriptive method. The results revealed that the process of conserving the natural resources of the Buddhists in the Li River Basin– they thought that the environment is what surrounds them naturally. At present, natural resources and environment have been destroyed by human beings and fall into crisis. Regarding the Buddha, he was born, achieved enlightenment, passed away and preached His doctrines in the forest. The Buddha’s disciples were also living in the forest as well, therefore, it is said that they had always been associated with nature and the environment.

            The restoration process of the Traditional White Elephant Parade with its form and essence, it is a ceremony of bamboo woven elephant parade decorated by white color. It is represented as the elephant named Paccaya Nagendara of the Bodhisatta Vessantara. If drought occurs and the rainy season does not take place as it should be, people will perform the Rain-Making Rites and the white elephant procession can link the power of the people in the watershed as well. The local people have a collaborative space, they can create the power to deal with problems and seek ways to preserve their forests. The strengthening of the natural resource conservation network of the Li River basin, by the Buddhist integrated approach; it is a collaborative grouping of natural resources management by performing the prolong life ceremony towards forest and rivers, offering sacrifices to spirits of water. This the white elephant procession is implied for the management of nature and the environment through Buddhist teachings in order to recognize the value of nature and the way to utilize and preserving the natural environment to remain incessantly.

 Keywords: Well-being according to Buddhism, the Five Precepts, Participatory Action


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.