ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษาของครู ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,356 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 203 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนสถิติอ้างอิง ใช้สถิติการทดสอบค่าที T-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD (Fisher’s Least-Significant Different)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์
2. การเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวนสองด้าน ได้แก่ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ และ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีระดับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามากกว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี
คำสำคัญ : ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
ABSTRACT
The objectives of this research were: 1) to study the level of the formative leadership of the administrators in school, and 2) To compare the level of the formative leadership of the administrators in school according to opinions of teachers in the schools under Loei Primary Educational Service Area 2, classified by size of school , working experience , and the Education level. In academic year, 2016 there were 1356 teachers, the population teachers who were working in basic educational school under Loei Primary Educational Service Area 2. The sample of this research was total 302 teachers, and the size of the sample was determined by the table of Krejecie and Morgan. The instrument of the research used to collect data was the 5 rating-scale questionnaire with the reliability of 0.99. The descriptive statistics used to analyze the data were comprised of frequency, percentage, mean, standard deviation. However, Inferential Statistics was the t-test and the one-way analysis of variance (ANOVA). The paired differences were found by using Fisher’s Least-Significant Different method will be applied.The research were found as follows:
1. The level of the formative leadership of the administrators in school under LOEI Primary Educational Service Area 2 was at a much level in overall and each aspect. Having considered each aspect, it was found that the highest mean is Vision and the lowest mean is Creative thinking
2. The comparison of the formative leadership of the administrators in school under LOEI Primary Educational Service Area 2 according to the opinions of the teachers, classified by the size of school. Overall, there were no differences. When considering each aspects, it was found that there were statistically significant two aspects differences at 0.01 level: creative thinking and individual consideration classified by working experience. Overall and each aspect, there were no difference and classified by the teacher's qualifications. Overall, there were statistically differences at .05 level by the teachers who had a higher educational qualifications, the bachelor degree had higher level of opinion toward the formative leadership of the school administrators rather than teachers with bachelor degree.
Keywords: Creative leadership, Administrators in School, Loei primary educational service area office 2
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.