การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 13

พระมหา สุชาติธมฺมกาโม(ปิติ)

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ(1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13(2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13(3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิ 15รูป/คน พร้อมกับการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ 13 รูป/คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า1.สภาพปัจจุบันการบริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค13แบ่งการบริหารงานเป็น 4 ด้านคือ วิชาการ บุคคล งบประมาณและบริหารงานทั่วไป โดยพบว่าการบริหาร งานมีปัญหา ดังนี้ด้านการบริหารวิชาการผู้บริหารขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการจัดการผู้สอนขาดความรู้ความชำนาญขาดเทคนิควิธีการสอนที่ทันสมัยด้านการบริหารงบประมาณได้รับงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากภายนอกมาใช้จ่ายด้านการบริหารบุคคลพระวิทยากรและครูผู้สอนไม่เพียงพอ ขาดความชำนาญในการสอนด้านการบริหารงานทั่วไปในส่วนของอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอนส่วนมากจะใช้ศาลาการเปรียญพระอุโบสถ และห้องเรียนของโรงเรียนภายในวัด

2.การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า ต้องทำการพัฒนาบนพื้นฐานการบริหารงาน 4 ด้าน เช่นกัน คือ วิชาการ บุคคล งบประมาณ และ บริหารงานทั่วไป ภายใต้การมีส่วนร่วม 4 ด้าน คือ 1)ร่วมตัดสินใจ 2)ร่วมปฏิบัติ 3)ร่วมรับประโยชน์4)ร่วมประเมินผลโดยนำหลักพุทธธรรม อปริหานิยธรรม สังคหวัตถุ สาราณียธรรม มาส่งเสริม สนับสนุน การบริหารงานในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารวิชาการ ในหลักอปริหานิยธรรมควรมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันทุกฝ่ายในการกำหนดหลักสูตรด้านงบประมาณผู้บริหารควรขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนคิดวางแผนจัดกิจกรรมในการหารายได้ด้วยการให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆ ตนเพื่อประโยชน์แก่คนในชุมชนตามหลักสังคหวัตถุด้านการบริหารงานบุคคลควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะในการเรียนการสอนของพระสงฆ์ พระวิทยากร และครูผู้สอนด้วยความสามัคคีเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันคือสาราณียธรรมด้านการบริหารงานทั่วไปปรับปรุงศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ให้เยาวชนและประชาชนศึกษาหาความรู้หรือมาทำกิจกรรมต่างๆตามความเหมาะสมสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

3.รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 มีลักษณะ ดังนี้ การบริหาร งาน 4 ด้าน ด้วยความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการคิด การปฏิบัติ การตัดสินใจ รับประโยชน์ และติดตามผลโดย บูรณาการด้วยหลักพุทธธรรม คือด้านวิชาการ จัดการเรียนการสอนด้วยหลัก ไตรสิกขา ให้เด็กเกิดพัฒนา 4 ด้าน บริหารงบประมาณ ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ และโปร่งใส บริหารงานบุคคลด้วยเมตตามโนกรรม การคิดดี การมองกันในแง่ดี เมตตาวจีกรรม การพูดแต่สิ่งที่ดี เมตตากายกรรม การทำความดีต่อกัน และบริหารงานทั่วไป ด้วยกิจกรรมเชิงพุทธ

 

คำสำคัญ: การพัฒนา, การบริหาร, การมีส่วนร่วม, ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณt

สงฆ์ ภาค 13

 

ABSTRACT

The objectives of this research were; 1) To study the current management conditions and problems of Buddhist Sunday Schools in clergy, Region 13 2) To develop the participatory management of Buddhist Sunday Schools in clergy Region 13, and 3) To propose the participatory management model of Buddhist Sunday Schools in clergy Region 13. The mixed research methodology was used in the study. The qualitative data were collected from documents, research works, in-depth interviews with 15 experts, and focus group discussions with 13 experts, then analyzed by content analysis. The quantitative information was obtained by questionnaires from 390 samples and analyzed by frequency, percentile, mean and standard deviation. The findings were as follows.               

1. The current management conditions of Buddhist Sunday Schools in clergy, Region 13  were divided into 4 sections; academic, personnel, budget, and general management. The problems were that; In academic management, the school administrators lacked of knowledge and understanding in management, and teachers lacked of knowledge, experiences and techniques in teaching. In budget, the granted budget was not sufficient for school management and more budgets were raised from other sources. In personnel management, a number of teachers were not matched with student number and the teachers lacked of teaching experiences.  In general management, preaching halls, ordination halls and temple school classrooms were mostly used for Buddhist Sunday schools.            

2. The development of participatory management of Buddhist Sunday schools in clergy Administrative Region 13 must be done in 4 aspects; academic, personnel, budget and general management under 4 participatory components; 1) participatory decision, participatory action, participatory advantage gaining, and participatory evaluation supported by principles of AparihaniyaDhamma, SamgahavatthuDhamma, and SaraniyaDhamma. The academic management should be enhanced and supported by the principles of AparihaniyaDhamma, the budget by SamgahavatthuDhamma, and personnel management by SaraniyaDhamma. In general management, Buddhist Sunday Schools should be improved into learning resources and religious activity centers for children and people in general.          

3. The participatory management model of Buddhist Sunday Schools in clergy, Region 13 consists of participatory thinking, doing, decision making, advantage gaining and evaluation in 4 aspects of management, integrated with Buddhist principles. Academic management is integrated with the Threefold Training, budget management with sacrifice, honesty and transparency, personnel management with loving-kindness and positive thinking, and general management with Buddhist based activities.

 

Keywords: The development, participation, Buddhist Sunday Schools in clergy Region 13


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.