บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

สุครไทย กรมลี, จักรกฤษณ์ โพดาพล

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามความคิดเห็นของข้าราชการครู และเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 309 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ ซึ่งมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.991 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือด้านจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ด้านดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านจัดระบบบริหารและสารสนเทศและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง2) การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษาพบว่าโดยรวมทั้ง 8 ประการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05จำแนกตามขนาดโรงเรียน มีการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในตามความคิดเห็นของข้าราชการครู พบว่าโดยรวมทั้ง 8 ประการ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01อยู่ 7 ด้านส่วนด้านที่ไม่พบความแตกต่างคือ ด้านดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

 คำสำคัญ:บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, การประกันคุณภาพภายใน

 

ABSTRACT

The purposes of this research were to study the role of educational administrators with the internal quality assurance follow the teachers under the Affiliations of Loei primary educational service area office 2 opinions  to compare the role of educational administrators with the internal quality assurance follow the teachers under the Affiliations of Loei primary educational service area office 2 opinions classified by educational level, school size and work experience. The research instrument was a questionnaire includes the personal information of the respondents by using program (SPSS) The basic statistical analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test (One-way ANOVA). The research results were found that:

1) The role of educational administrators with the internal quality assurance follow the teachers under the Affiliations of Loei primary educational service area office 2 opinions found that the overall in high level To consider in each individual aspect ranking in the order of mean from high to low as the operation of educational development plan for educational institution, to provide the educational development plan for educational institution that focus on the educational standard of educational institution, the strategy of the educational standard of educational institution, to provide the internal quality assurance follow the educational standard of educational institution, to do the management system and information system and the least average aspect is the development of quality education.            2)The comparison of The role of educational administrators with the internal quality assurance follow the teachers under the Affiliations of Loei primary educational service area office 2 opinions. , classified by education level, it was found that the total of 8 items were not significantly different at the 0.05 level.  Classified by the different of the school sized that had the operation of internal quality assurance according to the opinions of the teacher It was found that the total of 8 different statistically significant differences at 0.01level, classified by work experience. It was found that teachers with different working experiences had a total of seven opinions, which differed significantly at the 0.01 level. The aspect that was not found the different, was the operation of educational development plan for educational institution.

 Keywords: role of school administrators, internal quality assurance


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.