การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาอาเซียนศึกษาของนิสิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

สุทธิพร สายทอง

Abstract


บทคัดย่อ

            รายงานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาบทเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) วิชาอาเซียนศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาอาเซียนศึกษาของนิสิตสาขารัฐศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาอาเซียนศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนิสิต ที่เรียนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ในรายวิชาอาเซียนศึกษา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-book) รายวิชาอาเซียนศึกษา โดยผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาบทเรียนตามขั้นตอน ของพรเทพ เมืองแมน และชัยวงศ์ พรหมวงศ์ พร้อมทั้งได้ออกแบบบทเรียนตามทฤษฎีการเรียนรู้

            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นิสิตสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง  จังหวัดลำปางที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาอาเซียนศึกษา ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนรายวิชาอาเซียนศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบระหว่างเรียนเป็นแบบทดสอบระหว่างเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียน

โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

            การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้ 1) หาประสิทธิภาพของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)โดยใช้ E1/E22) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ การทดสอบด้วยค่า t-test และค่าร้อยละความก้าวหน้า 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อบทเรียนสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาบทเรียนสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-book) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาอาเซียนศึกษา ของนิสิตสาขารัฐศาสตร์ เป็นบทเรียนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ E-book) ที่มีประสิทธิภาพ 80.00/89.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลังจากที่เรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาอาเซียนศึกษา สูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการเรียน โดยค่า t= 29.87 แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริง แสดงว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาอาเซียนศึกษา มีส่วนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์  รายวิชาอาเซียนศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D.=0.34)แสดงว่านิสิตมีความพึงพอใจที่ดีต่อการเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-book) จึงทำให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) รายวิชาอาเซียนศึกษา เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ที่มีประสิทธิภาพเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-book) ในลักษณะการเรียนการสอนจริงเกิดความสนใจ เร้าความรู้สึกของนิสิต จึงทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเรียนได้ตามความรู้ ความสามารถของนิสิตเอง เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ทางเทคโนโลยีที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตสูงขึ้น ทำให้นิสิตมีความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาอาเซียนศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด          

 คำสำคัญ:การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์, รายวิชาอาเซียนศึกษา, สาขาวิชารัฐศาสตร์

 

ABSTRACT

            The purposes of this study, entitled “The Development of E-Book on “ASEAN Studies” to Enhance Political Science Major Students’ Learning Achievements in Lampang Buddhist College, Muang District, Lampang Province”, aimed (1) to develop the e-book on “ASEAN Studies” with its effectiveness of 80/80 provided; (2) to compare their learning achievement pretest obtained from the implementation of e-book on “ASEAN Studies” with their posttest, and (3) to investigate their satisfactions towards the implementation of e-book on “ASEAN Studies” conceptualized by Pornthep Moungman and Chaiwong Promwong.  

In the academic year 2015, a lesson plan on “ASEAN Studies”, a learning achievement test on “ASEAN Studies”, quizzes, and a questionnaire on students’ satisfactions on the implementation of e-book on “ASEAN Studies” were all conducted with thirty political science major students enrolling in the “ASEAN Studies course” at Lampang College, Muang district, Lampang province, selected by the sampling random technique. The data were statistically analyzed using percentage, mean, standard deviation, and t-test.   

The findings of the study revealed that the development of e-book “ASEAN Studies” designed for the political science major students’ learning achievements with its effectiveness of 80.00/89.56 was higher than that of their school standards of 80/80 provided, meanwhile their higher learning achievements with its significant difference of 0.05 compared with both their pretest and posttest were resulted in the implementation of e-book “ASEAN Studies”. Also, their satisfactions towards the implementation of e-book on “ASEAN Studies”, with its mean of 4.79, and its standard deviation of 0.34, were mostly found in terms of their teacher’s authentic instructional management, followed by their interests, and their learning inquiries.   

 Keywords:The Development of E-Book,ASEAN Studies, Political Science Major


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.