สัปเหร่อ: การสืบสานคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพในเขตเทศบาล ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

พระมหา นฤดล มหาปญฺโญ, สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์, อาภากร ปัญโญ

Abstract


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพิธีกรรมงานศพในวัฒนธรรมล้านนา 3) เพื่อศึกษาการสืบสานคติ ความเชื่อ พิธีกรรมงานศพของสัปเหร่อที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพระสังฆาธิการ มัคคนายกในท้องถิ่น ผู้นำในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ จำนวน 34 รูป/คน เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสืบสานคติ ความเชื่อ พิธีกรรมงานศพกับบทบาทสัปเหร่อ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย เพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรคาลัย จากการเผาและปัดเศษเถ้ากระดูกผู้ตายลงแม่น้ำคงคา จนเกิดธรรมเนียมนิยมการทำฌาปนกิจศพและลอยเถ้ากระดูก(ลอยอังคาร)  พิธีกรรมงานศพเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแก่ผู้จากไปที่เรียกว่า “ทักษิณาทาน” โดยสามารถแบ่งพิธีกรรมออกเป็น 4 อย่าง คือ 1) พิธีกรรมในวันตาย 2) พิธีกรรมในวันตั้งศพบำเพ็ญกุศล 3) พิธีกรรมในวันฌาปนกิจศพ 4) พิธีกรรมหลังวันฌาปนกิจศพ และถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน

วัฒนธรรมล้านนาได้แบ่งลักษณะพิธีกรรมงานศพตามชั้นชนไว้ 3 ลักษณะ คือ 1) การจัดพิธีศพเจ้านายชั้นสูง 2) การจัดพิธีศพพระสงฆ์ 3) การจัดพิธีศพสามัญชน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งดวงวิญญาณผู้วายชนม์ไปสู่สุคติตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการจัดพิธีศพเจ้านายและพระสงฆ์จะตั้งสรีระร่างผู้ตายลงบนปราสาทศพที่สูงใหญ่งดงามแตกต่างสามัญชน ปัจจุบันการจัดพิธีกรรมงานศพมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเจ้าภาพต้องการจัดพิธีกรรมรูปแบบใด แต่พิธีกรรมต้องไม่ขัดกับหลักจารีตประเพณีดั้งเดิม จากการศึกษาพบว่าแนวทางและรูปแบบการสืบสานคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพของสัปเหร่อที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของชุมชน ประกอบด้วย1) ความเชื่อ การสงเคราะห์ผู้ตาย 2) ความไว้วางใจ การยอมรับและไว้ใจของชุมชน 3) รายได้ เป็นแรงจูงใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ 4) การสืบต่อ เป็นการถ่ายทอดความรู้สู่เชื้อสายและผู้ที่มีความสนใจ

ดังนั้น การสืบสานคติ ความเชื่อและพิธีกรรมงานศพในวัฒนธรรมล้านนา จึงจำเป็นที่จะต้องตระหนักและสร้างคุณค่าการเป็นสัปเหร่อ ที่ประกอบด้วยความรู้ทางพิธีกรรม การบริหารจัดการขั้นตอนตามขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อสร้างความเป็นอัตลักษณ์และจรรโลงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชุมชนสืบต่อไป 

 คำสำคัญ:สัปเหร่อ,  การสืบสาน,  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

 

ABSTRACT

            The purposes of this research are: 1) To study the believe of funeral ritual in Buddhism 2) To study the funeral ritual in Lanna culture 3) To study the continuation of belief, funeral rituals and desirable characteristic of Supbharer (Undertaker) in the Bor-Haeo Municipality, Mueang District, Lampang Province. This research is used documentation and qualitative research from using in-depth interview consist of; Buddhsit Sangha leaders, Makkanayaka in communities, learders, Local Scholars and elderlies 34 people for analyzing the pattern of continuation of beliefs, rituals, funerals and the role of Supbharer(Undertaker).              

                The result of study is found that:

             The belief and funeral ritual have been influenced from Indian traditional beliefs about the funeral rites on the banks of the GangesRiver. This belief that it can be send souls of death man tothe heaven by burning and rounding of the ashes, the dead bones down the Ganges. This ritual can be the traditionalCrematory and float ash (scatter ashes over the sea). The funeral ritual expresses gratitude to the deceased as so-called "Thaksinadana”. It can be divided into four rituals, namely; 1) Ritual on the day of death, 2) Ritual in the day of the cremation, 3) Ritual on the day of cremation; 4) Ritual after the cremation day and hold on for a long time.

            Lanna culture has divided the funeral ritual style according to their social status,into 3 types namely1) the funeral of the high classpeople 2) the funeral of the monks; 3) the funeral of the common people. These ceremonies have the same purpose for sending the souls of the dead men to bliss way on the Buddhist belief.  The high class and Buddhist monk funeral ceremonies will set the deceased on a High-altitude funeral pyre for the cremation that is different from a common people. As a present, the funeral ritual of the community is no different. It is up to the host’s need what kinds of ritual to perform, but it must not conflict with the traditional customs. Inaddition, the researcher found that there are the guidelines and patterns of continuation on believe and funeral ritual and Supbharer’s characteristic of desirable attributes of communityinclude; 1) Beliefs: it is a sacrifice 2) Trust: the community has be confident and trust. 3) Income: it is an incentive to perform the duty and 4) The succession: it is the relay knowledge to descent and to who are interested.

Keywords:Supbharer (Undertaker),Continuation,Desirable attributes


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.