การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของผู้ต้องขังในทัณฑสถาน ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

บุญร่วม คำเมืองแสน

Abstract


บทคัดย่อ

            งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนา 2.เพื่อศึกษาถึงกระบวนการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3.เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนเถรวาทโดยได้เลือกผู้ให้ข้อมูล จำนวน 8 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลและอุปกรณ์อื่นๆ แล้วตรวจความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า มนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนาประกอบไปด้วยธาตุ 4 ขันธ์ 5 มีศักยภาพที่แตกต่างกันและความต้องการที่คล้ายคลึงกันได้แก่ ความต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยยารักรักษาโรคเป็นปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนั้นยังมีความต้องการทางด้านสวัสดิการ ด้านความรัก ด้านความนับถือ ด้านพัฒนาศักยภาพของตนเอง ด้านกระบวนการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทของเรือนจำบางขวาง ได้แก่“นโยบายห้าก้าวย่าง” ย่างที่หนึ่ง การควบคุม ปราบปรามยาเสพติด โทรศัพท์มือถือและสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำ ย่างที่สอง การจัดระเบียบวินัยเรือนจำ “วินัยเข้ม สะอาดเป็นระเบียบ สวยงามทุกตารางนิ้ว” ย่างที่สาม การฝึกวินัยผู้ต้องขัง ย่างที่สี่ พัฒนาจิตใจด้วยหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ย่างที่ห้า การสร้างการยอมรับจากสังคมซึ่งสอดคล้องกับหลักไตรสิกขาตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทและด้านรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทของเรือนจำกลางบางขวาง เป็นเรือนจำระดับความมั่นคงสูง ภารกิจของเรือนจำคือการขัดเกลานิสัยให้ดีงามโดยใช้กิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาผู้ต้องขังทั้งกิจกรรมที่พัฒนาทางร่างกาย เช่น มีสถานที่ออกกำลังกาย ใครชอบกีฬาประเภทไหนก็ฝึกตามประเภทนั้นๆ ในแต่ละปีจะมีการแข่งขันกีฬาสีของเรือนจำและมีสถานที่บำบัดยาเสพติดส่วนการพัฒนาจิตใจมีการอบรมตามหลักสูตรสัคคสาสมาธิ หลักสูตรมัคคนายก การจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รวมถึงกิจกรรมสวดมนต์ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร กิจกรรมสวดมนต์ชินบัญชร หรือกิจกรรมวันสำคัญของชาติ เช่นวันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ เรือนจำมีกิจกรรมวันพบญาติ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ญาติกับผู้ต้องขังมีความใกล้ชิดกันทั้งลูกหลานญาติพี่น้องพบปะกันในเรือนจำ เป็นการพัฒนาอารมณ์ของผู้ต้องขังได้เป็นอย่างดี 

 คำสำคัญ: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, พุทธปรัชญาเถรวาท

 

ABSTRACT

The objectives of this qualitative research were as follows; 1. to study human nature according to Buddhism, 2. to study the process of human development in Theravada Buddhism, and 3. to build a human resource development model in Theravada Buddhism. The data were collected from 8 key-informants through in-depth interview form and other instrument and then analyzed by content analysis.

The results of the study found that;

Human beings in Buddhism consist of 4 main elements and 5 aggregates with different potentials but share the similar desire; food, clothing, lodging, and medicine. Furthermore human beings also require security, love, respect, and potential development.

The process of human resource development of inmates in Bang Khwang Central Prison based on Theravada Buddhist philosophy is “The 5-Step Policy”; 1) to control and suppress drugs, mobile phone and prohibited objects, 20 to implement discipline, order and tidiness, 3) to discipline the inmates, 4) to heal and develop their mind by Saggasa Meditation Course, and 5) to build recognition from society based on the principles of Threefold Training in Theravada Buddhist philosophy.

A human resource development model in Theravada Buddhism of Bang Khwang Central Prison indicated that this prison has security in a high level. The burden and duty of the prison are to train, tame and develop the inmates physically and mentally. There are sports-ground and drug treatment and therapy center in the prison. The inmates who prefer sports can join a group of sports they like and there is an inter-mural sport annually. The mental development is conducted through Saggasa Meditation Course and Master of Ceremony Course. There are other activities for the inmates such as giving alms, listening to a sermon, chanting sutras, family re-union activity, and national day activities. These activities can improve the inmates’ emotion and feeling effectively.

 Keywords: Human resource development, Theravada Buddhist philosophy

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.