การจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ธนกร สิริสุคันธา, นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์, บุญฑวรรณ วิงวอน

Abstract


บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้คุณค่าทรัพยากรชุมชนเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว  ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในการจัดการทรัพยากรชุมชน   เชิงพาณิชย์ และศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสม สำหรับกลุ่มเกษตรกร      ผู้ปลูกข้าว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ประกอบด้วย จำนวนความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตภาคสนามของผู้วิจัยและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 51-60 ปี สถานภาพสมรส ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษา มีระดับการรับรู้คุณค่าทรัพยากรชุมชนเชิงพาณิชย์ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ระดับการรับรู้คุณค่าทรัพยากรชุมชนทางชีวภาพ 2) ระดับการรับรู้คุณค่าทรัพยากรชุมชนทางกายภาพ และ 3) ระดับการรับรู้คุณค่าทรัพยากรชุมชนที่สร้างขึ้นเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงพาณิชย์ อยู่ในระดับมาก โดยมีแนวทางการจัดการทรัพยากรชุมชนเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสมสำหรับ       กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว คือ ควรมีการทำการเกษตรบนที่ดินอย่างสม่ำเสมอทุกฤดูการผลิต ไม่ปล่อยที่ดิน    ร้างไว้ เพราะการเกษตรอื่นๆ นอกเหนือจากการปลูกข้าว จะเป็นที่มาของรายได้ที่สำคัญของครอบครัวและชุมชน ควรให้ชาวบ้านจัดการตนเองเพื่อให้เกิดความเป็นเจ้าของทรัพยากรชุมชน โดยการส่งเสริม            การจัดองค์กรชุมชนที่ดี อย่างมีประสิทธิภาพ และชุมชนควรมีอิสระที่จะใช้ประโยชน์ทรัพยากรชุมชน          อีกทั้งควรให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างอุดมการณ์การจัดการทรัพยากรชุมชน โดยอาจยก          ความมั่นคงด้านต่างๆ ของครอบครัว ความสุข ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นๆ มาเป็นอุดมคติในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรในชุมชน ผ่านองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเตรียมการและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสื่อสาร กระบวนการและเครื่องมือ การเรียนรู้ การวัดผล และการยกย่องชมเชยและการให้รางวัล

 คำสำคัญ: การจัดการทรัพยากรชุมชน  ทรัพยากรชุมชนเชิงพาณิชย์ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

 

 

ABSTRACT

                This research aims to study the level of awareness perception commercial values of community resources of rice agriculturist group, the participation levels of the rice agriculturist group in managing commercial community resources and guidelines to manage commercial community resources appropriately for rice agriculturist group, Mae Tha district, Lampang province. The research population sampling of 397 rice agriculturist group, data collection were questionnaire and interview form including the interview method,focus group,researchers’field observation and participatory observation.  Descriptive statistics were used to describe the characteristics of the studied data consisted of frequencies, percentage and means     

            The research found that most of the respondents were female aged between 51-60 years old, married with educational level of primary school, there were perception levels of community resources commercial value of the rice agriculturist group in 3 sides consisted of 1) perception the levels of biological value of commercial community resources 2) perception of the levels of physical value of commercial community resources and 3) perception levels of the value of community resources created by their own, in overall picture was at a high level.  The results of the study of the participatory levels of the rice agriculturist group in commercial community resources management was at the high level with the appropriate ways of managing community resources commercially for rice agriculturist group as follows: there should be constant agriculturist use of land in every production season without leaving land unused because other agriculturistl activities apart from rice cultivation bring important incomes for the family and community; let the villagers manage themselves to have the ownership of the community resources by promoting well-managed community organization efficiently and the community should be independent to use the community resources, including allowing everyone in community to participate in creating community resources management idealism by raising the stability in various sides of family, happiness, good relationship with others as the idealism in caring, conserving and managing community resources through important factors of preparation and behavior modification, communication, learning process and tools, measurement and praise then awards them.

 Keywords: Community Resources Management, Commercial Community Resources, Rice Agricultural Group,


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.