การบริหารผลการปฏิบัติงานสู่ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารผลการปฏิบัติงานสู่ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการ ในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ 4) เพื่อแสวงหาแนวทางในการบริหารผลการปฏิบัติงาน สู่ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ข้าราชการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทุกระดับ ทุกคน ทั้งที่ปฏิบัติราชการในราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน 1,111 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยวิธีสหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Cananical Correlation Analysis) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารผลการปฏิบัติงานกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 52.76 มีช่วงอายุระหว่าง 41 – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.86 และมีการศึกษาส่วนใหญ่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 72.96 ตามลำดับ
2) ข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีความคิดเห็นต่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้ ด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน ข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีความคิดเห็นต่อการบริหารผลการปฏิบัติงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านติดตามผลการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านการให้รางวัลหรือสิ่งจูงใจ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ
3) ข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน สรุปได้ดังนี้ ด้านประสิทธิผล ข้าราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านคุณภาพ การให้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง และด้านการพัฒนาองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
4) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารผลการปฏิบัติงานสู่ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ที่ระดับ 0.815 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลเชิงโครงสร้างของตัวแปรต้นและ ตัวแปรตามทุกตัวมีค่าตั้งแต่ 0.3000 ขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะนี้แสดงให้เห็นว่าตัวแปรคาโนนิคอลเชิงโครงสร้างตัวแปรตาม การบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นจากตัวแปรย่อย การวางแผนการปฏิบัติงาน การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน การติดตามผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้รางวัลและสิ่งจูงใจ สำหรับตัวแปรคาโนนิคอลของตัวแปรต้น ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติราชการเป็นตัวแปรที่เกิดจากตัวแปรย่อย การพัฒนาองค์กร
คำสำคัญ : การบริหาร, การปฏิบัติงาน/ผลสัมฤทธิ์
ABSTRACT
This study was conducted with its four objectives: 1. To study the performance result management of the National Buddhist Office 2.To study the achievement of government performance of the National Buddhist Office 3. To study the relationship between performance result management and government performance achievement in the National Buddhist Office and 4. To find the performance management ways in order to achieve the government performance of the National Buddhist Office. The mixed-method,research methodology was used in this study. The 1,111 populations consisted of National Buddhist Office’s government officers, both work in central administration and in provincial administration. The statistics used in this study were frequency, percentage, mean and standard deviation. The research hypothesis was tested by Canonical Correlation Analysis. There were 8 key performances used in qualitative research method by purposive sampling method. The data were collected by using in-depth interview. The data were analyzed by using descriptive research method.
The results revealed as follows;
1. The results in the performance result management and the achievement of government performance of the National Buddhist Office were found that most of the subjects were female (42.72%) age between 42 to 50 (66.82%) graduated with Bachelor’s degree (72.96%) respectively.
2. The opinion of government officers of National Buddhist Office towards the National Buddhist Office performance was at high level. The opinion of National Buddhist officers towards the performance planning was at average. The opinion of National Buddhist officers towards the working outcome development was at average level. Additionally, the opinion of National Buddhist officers towards outcome follow-up was at high level. Besides, the opinion of National Buddhist officers towards performance evaluation was at high level. The opinion of National Buddhist officers towards reward and motivation was at low level respectively.
3. The opinion of government officer of National Buddhist Office towards the government performance achievement of National Buddhist Office was at average level. The opinion of government officer of National Buddhist Office in terms of effectiveness was at average level. The opinion of government officer of National Buddhist Office in terms of the quality of services was at average level. Moreover, the opinion of government officer of National Buddhist Office in terms of efficiency was at average level. In addition, the opinion towards organization development was at average level respectively.
4. The relationship between the performance administration to government performance achievement in National Buddhist Office revealed that the relationship between the independent variables and dependent variables was at high level with the correlation coefficient at level of 0.815. When considered the Canonical constructive correlation coefficient of dependent variables and independent variables, the result was showed that every dependent variable was more than 0.3000. This data analysis revealed that the Canonical constructive dependent variables of performance management is a variable that arises from sub-variables operational planning performance development, performance tracking, performance evaluation and rewarding and incentives for canary variables of the initial variables Achievement in public service is a variable caused by sub-variables Organizational development.
Keywords: administration, performance, achievement
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.