การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารเชิงนาฏการในการเผยแผ่พุทธพจน์

กนกรัชต์ เก่าศิริ, อนันต์ อุปสอด

Abstract


บทคัดย่อ

การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารเชิงนาฏการในการเผยแผ่พุทธพจน์เป็นผลงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กิจกรรมทางการสื่อสารเชิงนาฏการมาใช้ในการหนุนเสริมการเผยแผ่ พุทธพจน์ ซึ่งเป็นพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่สังคม โดยได้ศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย 3กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนาและทางด้านนาฏการ กลุ่มที่ 2 บุคคลทั่วไปที่เป็นคนใน คือ นักบวชในพระพุทธศาสนาและคนนอก คือ บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้บวช และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มเยาวชน

ด้วยการใช้วงจรเดมิ่ง (Deming Cycle) มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในกระบวนการวิจัย

สรุปผลการวิจัย

1. การนำหลักพุทธธรรมเสนอผ่านสื่อนาฏการ เป็นการเพิ่มรสชาติของวรรณกรรมให้เกิดความสุนทรีย์แต่ถ้าหากไม่มีการคัดกรอง และวิเคราะห์ให้ดี อาจเป็นสาเหตุให้ผู้รับสารลุ่มหลงในรูป รส เสียง ผลของการสื่อสารจะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์

2. การผลิตสื่อเชิงนาฏการต้องใช้ผู้มีฝีมือ และผู้มีประสบการณ์ทางด้านดนตรี การร้อง และการแสดงมาทำการบูรณาการจึงจะทำให้ผลงานมีความสมบูรณ์

3. งานลักษณะนี้เป็นการเผยแผ่พุทธพจน์ในรูปนวัตกรรมสมัยใหม่ แต่การนำเสนอในรูปแบบนาฏการ ที่เน้นการเป็นนาฏศิลป์ไทย ผู้ชมต้องมีความรู้ด้านนาฏศิลป์ไทย การชมจึงจะได้อรรถรส และเกิดสุนทรียรสอันเป็นการยากแก่ความเข้าใจในคนทั่วไป จึงอาจจะทำให้สื่อชนิดนี้จำกัดกลุ่มผู้รับสาร

4. การผลิตสื่อธรรมะ ของพระพุทธองค์ที่จะนำเสนอแก่เยาวชน ควรจะทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม เข้าใจง่าย และผลิตสื่อให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก แล้วนำบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน และในทำการวิจัย พบว่า การผลิตสื่อในการสื่อสาร สาระของสาร และสื่อที่ใช้ต้องเหมาะสมกับวัยประสบการณ์ และภูมิหลังของผู้รับสาร เพื่อให้งานวิจัยเกิดประโยชน์ตามที่ตั้งไว้       

 คำสำคัญ: การสื่อสารเชิงนาฏการ, การเผยแผ่พุทธพจน์

 

ABSTRACT

The innovative development of dramatization communication in  propagating the Buddha speech is a research aimed to apply the dramatics communication activities in supporting the propagation of the Buddha speech to society by studying from the three target groups as follows; 1. Experts Group:  Religion, Drama 2. General people: Insiders (Buddhist monks) and Outsiders (general people) 3. Youth people .Using the Deming Cycle to apply in research to achieve continuity in the research process

The results are as follows;

Introduction of Buddhist principles through the dramatics media can enhance a taste of literature to aesthetics. If there is no screening or analyzing it, this may cause the recipient to become enamored of the form, flavor, and sound effects. This may cause the recipient to become enamored of the form, flavor, and sound. The communication effect may not be on purpose.

This work is the propagation of the Buddha speech in the form of modern innovation, but presenting in the dramatics form, the audiences must have had some knowledge of acting art. Consequently, watching will be entertaining and aesthetic taste. It might be difficult to understand in general, also this type of media may be limited from the audiences. The Dhamma media production of the Buddha presented to the youth should be made it fun, easily to follow, and understand. The media should be produced with suitable for children's age and put them in the course.

The study found that those who are going to produce the theatrical media which integrate the music, singers, and actors that present the dramatics performance must have high experience. The acting performance has to be tightened up, not delay, and it should create innovative in the field of dramatics communication that appropriates with different age and different backgrounds for research to benefit as preset.

 Keywords:the communication as a dramatization,the propagation of Buddha speech


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.