การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางACTIVELEARNINGร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู 2)ออกแบบและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู3) ทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย และพัฒนา มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่2 พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3การทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่4 ประเมินผลกลุ่มตัวอย่างในได้แก่นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่1ปีการศึกษา 2560 จำนวน25คน โดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 3) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้5) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 6)แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-testและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1.ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นครู โดยทุกฝ่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยผลิตและผู้ใช้บัณฑิตครู เห็นความสำคัญในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู
2. ผลการพัฒนาได้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2)ขั้นออกแบบและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) ขั้นเสริมสร้างประสบการณ์ 4)ขั้นสะท้อนข้อมูลหลังการใช้การจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนการนำกระบวนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในห้องเรียน ประกอบด้วย6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) จุดประกายยั่วยุความคิด 2) ร่วมออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ 4)สะท้อนคิด 5) สรุปการเรียนรู้เชื่อมร้อยความคิด 6) ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
3. ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้และจิตตปัญญาศึกษา พบว่าหลังการทดลองใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่พัฒนาขึ้น 1)นักศึกษาครูมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.052)นักศึกษาครูมีคุณลักษณะความเป็นครู ตระหนักรู้ในตนเองทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมีทักษะการแก้ปัญหาสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางActive Learningร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ:จิตตปัญญาศึกษา, ออกแบบการจัดการเรียนรู้, นักศึกษาครู, มหาวิทยาลัยราชภัฏ,รัตนโกสินทร์
ABSTRACT
The purposes of this research were to study and analze the foundation on developing organization to enhance instructional design ability of student teachers, to design and development learning process, to implement a organization based on Active learning and the Contemplative Education, and evaluate the effectiveness of this learing process, empioying the R&D research method .in the process of impiementing in the classroom, The research was devided into 4 steps: analyzing the foundation; developing the process of learning; implementing the process of learning; evaluating the process of learning. The sample of this study were 25 forth year student teachers, in General Science Education program, the faculty of Education, SuanSunandhaRajabhat University. The research instruments were 1) the teachers’ manual and lesson plans 1) evaluation form for varied and systematically instructional design ability,2) evaluation form for lesson plan writing ability, 3) evaluation form for organization learning activities ability, and evaluation form of students’ satisfaction toward the learninnprosess. The data were analyzed by using arithmetic means, percentage, standard deviation, t–test dependent and content analysis.
The research finding were as follows:
1. The foundation analysis results were crucial as they would be used to develop students’ instructional design ability, mercifulness, pubic-mindedness, and problem solving.
2. The developed learning process organization, based on Active Learning and the Contemplative Education,consisted of 4 steps: Analysis of foundation;design and delopment; construction of experience; and reflection.The learning process implementation in the classroom consisted of 6 steps 1) spark provocative ideas. 2)planing a lesson plan. 3) microteaching. 4) Reflecting with instructor and other students teachers. 5) Summary of learning. 6) revising the lesson plans
3. After implementing the developed learning process organization, instructional design ability of student teachers were significantly higher than this before learning by using developed learning process organization at .05 level of significantly. In adding, student teacher have developed the ability to problem solving, and work together. Therefore, the learning process is based on Active Learning Learning Study Approach and the Contemplative Education was qualified to enhance instructional design ability of student teachers
Keywords:Active Learning, Contemplative Education, instructional design ability, student teachers,
Rajabhat UniversityFull Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.