ศึกษาวิเคราะห์พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) ตามแนวเทสนาหาระ
Abstract
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพระประวัติและผลงานด้านพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ 2) เพื่อศึกษาพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ 3) เพื่อวิเคราะห์พระนิพนธ์ในสมเด็จสมเด็จพระญาณสังวรฯ ตามแนวเทสนาหาระ มีผลการศึกษา ดังนี้
สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงมีพระอุปนิสัยชอบบันทึกเหตุการณ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2468 ขณะเรียนชั้นประถมศึกษา เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรบันทึกเทศน์ชื่ออริยทรัพย์ 7 ประการ ทรงบันทึกเรื่องราวบางครั้งเป็นเรื่องสั้นบางครั้งเป็นเรื่องยาวเป็นประจำ ทรงอ่านหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและทรงปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้น จึงทรงนิพนธ์หลักธรรมะให้อ่านเข้าใจได้ง่ายและง่ายต่อการปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
ผลงานพระนิพนธ์ของพระองค์มีจำนวนมาก สามารถจัดกลุ่มได้ 4 ประเภท คือ 1) ประเภทเรียงความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 114 เรื่อง 2) ประเภทคำบรรยายและคำสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 47 เรื่อง 3) ประเภทเทศนาภาษาไทย 34 เรื่อง 4) ประเภทวิชาการเช่นหลักพระพุทธศาสนา, 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า เป็นต้น
การวิเคราะห์พระนิพนธ์ตามแนวเทสนาหาระ ดังนี้ 1) อัสสาทะพบว่าพระนิพนธ์กล่าวถึงการสร้างชีวิตที่มีคุณค่าเช่น ชีวิตคือความฝัน, ส่วนประกอบสำคัญของชีวิต, ชีวิตกับศาสนา เป็นต้น 2) อาทีนวะพบว่าพระนิพนธ์มีเนื้อหากล่าวถึง ชีวิตที่มีทุกข์ เช่น ชีวิตที่ขาดศรัทธาจึงมีทุกข์, ทุกข์ของชีวิตด้วยอำนาจกรรม เป็นต้น 3.) นิสสรณะพบว่าพระนิพนธ์มีเนื้อหากล่าวถึง ภาวะที่ชีวิตหลุดพ้นเช่น ภาวะที่ชีวิตหลุดพ้นความทุกข์, การมีความสุขในปัจจุบัน, ภาวะที่ชีวิตหลุดพ้นทุกข์ด้วยปัญญา เป็นต้น4) ผละพบว่าพระนิพนธ์มีเนื้อหากล่าวถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตในปัจจุบัน, จุดมุ่งหมายของชีวิตในอนาคตที่มีศรัทธา ปัญญา ศีล กรรม เป็นต้น5) อุปายะพบว่าพระนิพนธ์ มีเนื้อหากล่าวถึง การก้าวย่างของชีวิตออกจากนิวรณ์ด้วยวิธีที่แยบยล6) อาณัติพบว่าพระนิพนธ์มีเนื้อหากล่าวถึง ความสำเร็จในชีวิต, จิตใจดีชีวิตดีมีสุข, วาสนาดีชีวิตดี เป็นต้น
คำสำคัญ: พระนิพนธ์, เทสนาหาระ, สมเด็จพระญาณสังวรฯ
ABSTRACT
This dissertation is of 3 objectives as: 1) To study biography and the thesis of SomdejPhrayanasangvara, 2To study the thesis of SomdejPhrayanasangvara, and 3) To analyze the Thesis according to Desanahara. The results are found that :
His. Holiness liked to record events since B.E. 2468 while studying in the primary school. Having ordained as a novice, he composed the “7 Ariyasab” sermons.By his nature, he usually wrote both the short stories and long stories. He always read the books both in Thai and English. Actually he practiced meditation.Thereby, Dhamma thesis written by him, are easy to read, to understand, and also to practice in daily life.
His. Holiness had written numerous thesis either in Thai or English. Those thesis are grouping into 4 types as: 1) the essays about 114 articles, 2) the descriptive and teaching type around 47 items3) the Thai sermons about 34 items, and 4) the academic writings, such as The Buddhist Principles, 45 Years of Buddha, and so on.
The analysis on his thesis according to Desanãhãra was found that 1) Assãda, thethesis: such as “Life is a Dream”, “An Important Components of Life”, “Life with Religion”, are described about the life value adding, 2) Adînawa, the thesis such as “Life that is Lacking in Faith, therefore has Suffering”, “Suffering of Life with Karma Power”, are saying the suffering nature of lifes, 3) in Nissarana, his works such as “The conditions in which Life Liberates Suffering”, “Current Happiness”, “The Condition in which Life is Freed from Suffering with Wisdom”, are showing off the freedom state of life, 4) Phala, the thesis are pointing to the Purposes of life either in the Present or in the future based on the Faith, Wisdom, Morality and Karma, 5) Upãya, it is the pace of life is out of revelationin an ingenious way, and 6) Ãñatti, it is guaranteed about the success in life, good chance in their life, a perfect life, happiness , good fortune, and so on .
Keywords: The Works, Desanahara, SomdejPhrayanasangvara
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.