การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพชุมชนของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

ลัดดาวัลย์ กันธรรม, อนันต์ อุปสอด

Abstract


บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพชุมชนของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และเพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพชุมชน เทศบาลตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกกลุ่มผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนลำไยแปลงใหญ่อำเภอแม่ทา จำนวน 25 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงเสนอเป็นรายงานโดยวิธีพรรณนา

            ผลการศึกษา การบริหารอาชีพกลุ่มชุมชนของเทศบาลตำบลทากาศเหนือได้ พบว่า กลุ่มมีการวางโครงการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีระเบียบข้อบังคับ มีการวางแผนงาน แต่ได้พบปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าเพื่อการเกษตรในพื้นที่ และเชื่อมโยงถึงระบบน้ำ และได้มีการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยได้รับโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน นอกจากนั้น สถาบันศึกษาที่เข้ามาช่วยเหลือ ด้านการร่วมสร้างนวัตกรรมในการเก็บลำไย การวางผังแปลงต่างๆ ด้านการบริหารจัดการการเงินและระบบบัญชี ยังไม่ชัดเจน ขณะเดียวกันได้พบว่า กลุ่มอาชีพชุมชนของเทศบาลตำบลทากาศเหนือ ได้ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม และประสานกับคณะกรรมการกลุ่มย่อยระดับตำบลที่เป็นตัวแทนกลุ่มลำไย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการทั้งระบบตามโครงสร้างที่วางไว้

            ข้อเสนอแนะคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาครัฐ ควรมีบทบาทช่วยวางแผนการตลาดเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต การตลาด ควรประสานหรือสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาหรือการสร้างนวัตกรรมในการเก็บลำไย และการปลูกตามสภาพพื้นที่ ขณะที่คณะกรรมการบริหารจัดการ ควรสร้างการเรียนรู้เรื่องระบบตลาด โดยส่งเสริมให้ลูกหลานคนรุ่นต่อไปเข้ามารับสืบทอด เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ และควรมีการจัดระบบการบริหารในลักษณะที่เป็นระบบฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ และที่สำคัญควรเพิ่มหน้าที่ด้านการเงินและการทำบัญชี แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน เพราะเมื่อกลุ่มเติบโตขึ้นตามลำดับ ย่อมจะเกิดการบริหารจัดที่ดี มีความโปร่งใส มีและมีคุณภาพ

 คำสำคัญ:  การบริหารจัดการ , อาชีพชุมชน , วิสาหกิจชุมชนลำไยแปลงใหญ่

 

ABSTRACT

This research aimed to investigate the state of operations and management methods of a community occupational group in Tambol Tha Kat Neua Municipality, Amphoe Mae Tha, Lamphun Province. The research is qualitative in nature and uses data gathered from in-depth interviews with 25 members and executive officers of a community enterprise engaged in the large-scale cultivation of longan in Amphoe Mae Ta. The information is analyzed and presented using descriptive techniques.

The results of the research show that the occupational group has a clear management structure, it has well laid out regulations, and work is well planned. However, problems exist with the supply of electricity of water. The group is connected to the work of a number of organizations and has been included in the 9101 project, ‘Following in father’s footsteps, and under the graciousness of His Majesty’, which has the aim of supporting sustainable agriculture. In addition, educational institutes have also provided assistance to the group by developing innovations that help with the longan harvest and assisting with the planning of planting and cultivation. In terms of financial management and accounting, there is a lack of clarity but at the same time, the group uses a participatory approach to its management and coordinates with the district-level committee that represents longan traders in order to raise management flexibility and to bring this into line with the structure that has already been laid out.

The recommendations that follow from this research are : To reduce production and marketing costs, both central and local government organizations should play a greater role in helping to plan marketing for the group. Academic assistance should also be established and/or better coordinated in order to produce new technologies to help harvest longan fruits and to plan plantings according to local conditions, while the management committee should increase its knowledge of marketing and, to reduce a number of risks, encourage younger generations to take part in this inheritance. The committee should also split operations into administrative and management branches and, more importantly, should increase the resources devoted to finance and accounting, as well as clearly separate these two functions because as the business grows this will help to improve the quality of the operation’s management, the clarity and transparency of its activities, and its overall quality.

 Keywords: management, occupational community group, Longan Community Enterprise


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.